วันพุธที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2557

เทคนิค : การทำความสะอาด ล้าง Sensor (CCD) กล้อง DSLR แบบเสี่ยงตาย ด้วยตัวเอง

เทคนิค : การทำความสะอาด ล้าง Sensor (CCD) กล้อง DSLR แบบเสี่ยงตาย ด้วยตัวเอง



ใช่ครับ อย่างที่เห็นในรูปข้างบน..."ฝุ่น" จำนวน มหาศาลจุด >_< !!! ได้แพร่กระจาย บุกเข้าไปถึง CCD ในกล้องของผมมากมาย...
ผมจึงต้องหาวิธี "กำจัด" มันออกไปซะที เพราะปีสองปีที่่ผ่านมา ต้องทรมานกับการใช้โปรแกรมแต่งภาพ เพื่อลบจุดออกเสมอๆ
ฝุ่นจะปรากฏกายให้เราเห็นได้ง่ายๆ เมื่อเราใช้ค่า f สูงๆ เช่น f22 หรือภาษาชาวบ้านเรียกว่า f แคบๆ นั่นแหล่ะครับ ^^"

ผมก็พยายาม Search ไปเรื่อยเปื่อยใน google นี่แหล่ะครับ เพื่อหาทางแก้ไข @_@" เพราะผมเองก็ไม่เคยและไม่รู้ว่าต้องทำยังไง
ส่วนมากจะแนะนำให้ส่งเข้าศูนย์ ใช้เวลารอประมาณหนึ่ง กล้องก็จะกลับมาสู่สภาพปกติ ^0^

แต่...ส่วนมากอีกที พอถ่ายไปอีกซักพัก ฝุ่นก็จะเข้าไปใหม่อยู่ดี ... ก็ต้องส่งไปเข้าศูนย์ใหม่ >_< !!!
แล้วคนอย่างผม ที่ไม่ค่อยเช็ด ไม่ค่อยดูแลกล้องเลย เก็บทิ้งไว้ที่พื้นรถ จอดตากแดดมาสองปี ถ่ายรูปวันละเป็นพันๆ ใบ
คงจะได้ส่งเข้าศูนย์ทุกวันเป็นแน่แท้... Y_Y ไหนจะฝุ่นจาก...น้ำตก ภูเขา ทะเล สารพัดสารเพ >_< !!!

สุดท้ายผมก็ไปสะดุดตากับวิธีการหนึ่ง ซึ่ง web ฝรั่งบอกว่า "ราคาถูกแต่...ไม่ควรทำ" ก็คือการเอา "เทปกาวลอกฝุ่นออกจาก Sensor" *0* !!!
คือเรื่องมันเป็นอย่างนี้นะครับ การที่เราถ่ายรูป แล้วมองเห็นฝุ่นตรงช่องที่เราส่อง กับ เห็นฝุ่นที่บนรูปถ่าย การเกิดฝุ่นอาจจะคนละที่กัน
หากเราทำความสะอาดเลนส์เอาผ้าเช็ดๆ และก็เปิดกล้องออกเป่าฝุ่นข้างในแล้วหาย ก็เป็นอัน OK ไม่มีปัญหา
แต่ถ้าทำทุกทางแล้ว ฝุ่นยังปรากฏอยู่บนรูป แสดงว่า...ถึงเวลาเจรจากับ Sensor (CCD) แล้วล่ะครับ

จริงๆ มันก็มีอุปกรณ์สำหรับจัดการกับฝุ่นที่ติดอยู่หน้า Sensor (CCD) ขายอยู่นะครับ
ชุดละแค่ไม่ถึงพันบาท Y_Y ใช้ได้หลายครั้ง เกือบๆ สิบครั้งมั้งครับ Y_Y น่าจะปลอดภัย และได้ผลดี

ส่วนผมไม่มีตังค์ครับ (เอาไปซื้อเบยกินหมดแระ) >_< !!!
และก็ไหนๆ เห็นว่าน่าสนุกดี ก็เลยขอลองวิธีเอา "เทปกาวลอกฝุ่นออกจาก Sensor" *0* !!! 555+
มาดูอุปกรณ์ที่ต้องเตรียมครับ... 1. เทปกาว 2. ไม้แคะ หู ... -_- หมดละครับ มีแค่นี้ >_< !!!

web ฝรั่งบอกว่าไม่ควรทำวิธีนี้ เพราะว่าเนื้อกาวจากเทปกาว อาจจะเหนียวติดค้างอยู่แทนฝุ่นครับ
ผมก็เลยแค่ หาๆ เทปกาว ที่...ไม่เหลือคราบกาวติด หลังจากลอกฝุ่นออกแค่นั้นเองครับ
พอดีเวลาผมทำงาน ผ่านๆ มาหลายปี ก็เลยเคยใช้เทปกาวมาแล้วหลายแบบครับ ^_^ แบบ magic tape แจ่มดีครับ

วิธีทดสอบ ก็แค่ไปซื้อๆ มา แล้วเอาไปแปะกระจก แล้วลอกออกครับ ถ้าอันไหนไม่เหลือคราบกาว เราก็ใช้อันนั้น ^^" จบส์!

ปัญหาต่อมาก็คือ ผมไม่รู้จักว่าเจ้า Sensor หรือ CCD และหรืออีกที ตรงจุดที่ผมจะไปยุ่งกับมัน มันคืออัลไล? บอบบางแค่ไหน
น่า กลัวมากไหม หรือแค่สัมผัส ก็ระเบิดตูมมมมมมมมมมมมมม !!! >_< !!! อ่า...ก็เลยต้อง ศึกษามันดูก่อนครับ ผ่านทาง google อีกเช่นเคย

พบว่า เราไม่ได้ไปยุ่งกะ Sensor หรอกครับ เพราะตรงนั้นจะมีอะไรกั้นไว้อีกหลายชั้นก่อนอยู่ดี เขาว่ามันชื่อ Low-pass filter - -"
ซึ่งเอาไว้กรองสัญญาณ ไม่ให้รูปคมมากเกินไปจนดูไม่ได้ จนเส้นๆ เยอะแล้วจะตาลายไม่เป็น ธรรมชาติไรเงี้ยครับ @_@"

ดังนั้น เจ้า Low-pass filter เนี่ย ก็เหมือนกับกระจก เหมือนเลนส์ เหมือนแว่นตา เหมือนหน้าจอโทรศัพท์ทั่วๆ ไป นี่แหล่ะ ^^"
และก็ยากเหมือนกันที่จะทำให้มัน "ใส" "ไร้ร่องรอย" 555+ ส่วนมากจะติดรอยนิ้วมือเราซะก่อนตลอดๆ ครับ

เมื่อรู้ดังนี้แล้ว ก็ทำการปิดบทความนี้ไปซะครับ!!! ^^" 555+ เพราะหากยังฝืนอ่านต่อ ท่านต้องรับผิดชอบสิ่งที่จะเกิดขึ้นเอง
ผมไม่เกี่ยวน๊าาาาาาาา 555+

แต่หากอยากอ่านต่อและทำตาม ตัวท่านจะต้องมีคุณสมบัติดังนี้
1. กล้า ... และ...อ่า...หมดแล้วครับ - -" แค่กล้า..."ก็พอ" เพราะผมก็มั่วๆ เอาด้วยความ "กล้า" นี่แหล่ะครับ
เรามาดูกันว่าเจ้าสิ่งที่ฝุ่นไปรวมตัวกันเกาะอยู่นั้น คืออะไร ขอบคุณภาพจาก Internet นะครับ ผมคงไม่สามารถแยกชิ้นส่วนเองได้ขนาดนี้ - -"
เจ้า low-pass filter คือ แผ่นที่สอง จากทางซ้ายมือนะครับ จะเห็นว่า อีกไกลมากกว่าจะไปถึง Sensor ทางขวาสุด -_-


มาเริ่มกันเลยครับ...เปืดกล้อง แล้วเลือกปุ่มนี้ครับ...Menu Canon เพื่อให้กล้องเปิดช่องให้เราสามารถแหย่เทปกาวเข้าไปได้ - -"
ส่วนของยี่ห้ออื่นๆ เช่น Nikon ลองดูในคู่มือนะครับ ^^" พะดีผมไม่มีอ่ะ...
เลือก Clean Manually แปลว่า...ฉันจะทำความสะอาดเองนะจ๊ะ...ครับ ^^"


เจ้าตัวที่ฝุ่นชอบไปเกาะ ก็คือแผ่นสีใสๆ ข้างในสุดนั่นแหล่ะครับ บางทีมันก็ชอบสะท้อนเป็นสีเขียวๆ ^^"
สังเกตว่า...สภาพของกล้องผม...อ่า...เขรอะๆ เกรอะกรังใช้ได้ครับ ใช้ถ่ายอย่างเดียว ไม่เคยทำความสะอาดใดๆ เลย Y_Y
ถ่ายรูปมาเกือบ 1 ล้านใบแล้วครับ ^^" แหะๆ 3 ปีเต็มๆ...


หากเป็นฝุ่นที่เกาะแน่นๆ หลายๆ ปี หรือพวกละอองเกสรดอกไม้เหนียวๆ หรืออะไรก็ตาม เราจะเป่าไม่ออกหรอกครับ...
ไม่เชื่อท่านลองเป่ากระจกดูครับ คงหมดแรงก่อน กว่าฝุ่นจะปลิวหลุดออกจากกระจก ยิ่งพวกเม็ดเล็กๆ ยิ่งไม่ขยับเบยยย 555+ >_<
สังเกตว่าเลนส์ของผมนั้น ยิ่งเขรอะมากๆ สุดๆ แต่ยังถ่ายรูปได้สวยอยู่นะครับ ^_^


ดังนั้น...ผมจึงใช้มาตราการสุดท้าย..."แบบเสี่ยงตาย" ก็คือเอาเทปใส แปะแล้วลอกออก ทำเบาๆ นิ่มนวลๆ เอาไว้ก่อนครับ
ถึง low-pass filter จะไม่ถลอกง่ายๆ แต่การทำอย่างระมัดระวัง จะช่วยให้เราไม่เผลอทำอะไรหล่นลงไปกระแทกแทนครับ 555+

ใช้..."ไม้แคะหู"...ค่อยๆ แตะเทปกาว เพื่อลอกดึงเอาฝุ่นออก ไม่ใช้เอาไว้เช็ดหรือว่าถูนะครับ ใช้แตะๆ ก็พอ 555+

ทำๆ ไปเรื่อยๆ ครับ จะกี่รอบก็แล้วแต่ปริมาณฝุ่น และ...ความติดแน่นของฝุ่น...ผมทำไปหลายรอบเลยครับ
ทำแล้วถ่ายรูปดู ว่าฝุ่นติดตรงไหนบ้าง ก็ฝึกทำๆ ไป อาการฝุ่นก็ค่อยๆ หายไปๆ ดีขึ้นเรื่อยๆ ครับ

เพราะลงทุนไปแค่ 30-40 บาท แต่ใช้ได้ไม่รู้กี่รอบเหมือนกันครับ >_< !!!

ซึ่ง...สำหรับผม...มันสำเร็จนะครับ ^_^ ฝุ่นจากรูปข้างบนหาย "เกือบ" หมดเบยยยยยยยยยยย ^0^ wowwwwww!!!
ทำให้ความมั่นใจในการถ่ายรูปของผมกลับมาอีกครั้ง หลังจากต้องทุกข์ทนมากว่า 2 ปี Y_Y ผมสามารถถ่ายที่ f40 ได้อีกครั้ง
f40, 1/3200s, iso100 หมุน tele ซูมสุดกระบอก ^0^
(1/3200 = 0.0003 วินาที เร็วมากกกกกกกก)


f36 ครับ...ยิ่งกลับมาถ่ายที่ค่า f มากๆ หรือแปลอีกอย่างว่า f แคบๆ ได้โดยไม่มีฝุ่น ยิ่งโคม่า บ้าถ่ายรูปกว่าเดิมอีกครับ Y_Y
f แคบๆ จะทำให้แสงอาทิตย์ที่ลอดเมฆออกมา กลายเป็นแฉกๆ เลยครับ ^_^


รูปนี้ที่ f29, 1.3s, iso100 ครับ ^^ มีความสุขจริงๆ ครับ กลับมาถ่ายไฟแฉกๆ ได้อีกครั้ง โดยที่ไม่ต้องมานั่งลบฝุ่นเป็นร้อยๆ จุด
ตอนนี้เหลือจุดซ้ายบนเล็กๆ อีกจุดนึง ทางขวาบนอีกจุดหนึ่ง...เดี๋ยวพรุ่งนี้ผมทำความสะอาดได้ใหม่อีกครับ เทปกาวเหลือเพียบๆ 555+


สรุปนะครับ หากท่าน "กล้า" พอ ก็ตัดสินใจเอาเองครับ ผมไม่เกี่ยวนะ แต่ผมทำแล้วมันโอเค ^^
และต้องคิดด้วยว่า ท่านใช้กล้องและ...ถ่ายรูปเอาไปทำอะไร? เอารููปไปใช้แบบไหน?

เพราะเคยมี web ฝรั่งบอกว่าเทปกาวเนี่ยทำบ่อยๆ จะทำให้สีเพี้ยนๆ ไปประมาณ 6.5 micron ทาง red spectrum @_@"ห
ก็...ประมาณ 0.0065 mm ซึ่งสำหรับผม...อ่า...มันไม่ใช่ตัวเลขที่ทำให้โลกของผมต้องหยุดหมุนอะไรเท่าไหร่...^^"
ถ้าซัก 1 mm น่าจะพอมองเห็น 555+ (แต่คำกล่าวดังว่า ผมหาผล lab รับรองไม่เจอแฮะครัฟ) @_@"

และสำหรับท่านใดที่กังวลเรื่องสีเพี้ยน 0.0065 mm ไปทาง red redspectrum ก็ไม่ควรทำนะครับ เช่นกล้องตัวละแสนกว่าบาทไรเงี้ย 555+
Bye byeee ไปดีกว่าครับ ตัวใครตัวมัน กล้องใครกล้องมันนะฮาฟฟฟฟฟฟฟฟฟฟฟ ^0^
และ...ปล. ห้ามเอาไปเถียงกันแล้วก่อมาม่านะครับ บอกแล้วว่า...ตัวใครตัวมัน กล้องใครกล้องมันนะคร๊าฟฟฟฟฟฟ 555+








ที่มา: oknation.net
 
สั่งอัดรูปออนไลน์ / Digital Offset Print / Photo Gift / Photo Book
ได้ที่
www.masterphotonetwork.com


ติดตามข่าวสารและกิจกรรมดีๆ จากมาสเตอร์ได้ที่
Facebook : Master Photo Network   
คำคมที่ใช้ในการถ่ายภาพ , Photo Book, ภาพตลก, ภาพ สวยๆ, ภาพข่าว, ภาพถ่าย, ร้านมาสเตอร์,



วันพฤหัสบดีที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2557

ถ่ายภาพสนุกๆ ในยามค่ำคืน ยังไงให้สวย!!

ถ่ายภาพสนุกๆ ในยามค่ำคืน ยังไงให้สวย!!

ถ่ายภาพสนุกๆ ในยามค่ำคืน ยังไงให้สวย!!
ระบายภาพด้วยแสง
ในการถ่ายภาพยามค่ำคืน คุณสามารถใช้แหล่งแสงประเภทต่างๆ เพื่อเพิ่มความสว่างให้กับตัวแบบได้ด้วยเอฟเฟ็คท์ที่ดูแปลกตา การระบายด้วยแสงจะต้องใช้ค่าการเปิดรับแสงที่ยาวนานจาก ไฟฉายหรือแฟลชเพื่อเปิดแสงให้กับตัวแบบ
เช่นเดียวกันกับการถ่ายภาพกลางคืนทั่วไป คุณจำเป็นต้องตั้งกล้องไว้บนขาตั้งกล้องที่มีความมั่นคงและใช้สายลั่น ชัตเตอร์เพื่อหลีกเลี่ยงความเบลออันเนื่องมาจากกล้องสั่น การถ่ายภาพในความืดยังทำให้คุณจัดองค์ประกอบภาพและโฟกัสได้ยาก ดังนั้นให้คุณใช้โหมด Live View และตั้งค่า ISO ให้สูง
โฟกัสแบบแมนวล
สำหรับการโฟกัสภาพแบบแมนวลในความมืดนั้น คุณจะพบว่าการทำงานนั้นง่ายขึ้นมากถ้าคุณส่องไฟฉายไปยังจุดที่คุณจะโฟกัส (หรือใกล้ๆ กัน) วิธีนี้สามารถเพิ่มความสว่างมากพอที่จะคุณโฟกัสภาพด้วยการดูภาพขยายจากโหมด Live View ได้
เมื่อคุณตั้งค่าต่างๆ เรียบร้อยแล้ว คุณก็สามารถเปิดแสงให้ตัวแบบด้วยไฟฉาย (หรือแฟลช) ในส่วนต่างๆ ของภาพได้ เวลาที่คุณใช้ไฟฉาย คุณจำเป็นต้องขยับแสงไฟอยู่ตลอดเวลาเพื่อทำให้แสงบนตัวแบบมีความสม่ำเสมอ ภาพที่คุณได้จะไม่มีทางซ้ำกันได้เลย

STEP BY STEP การตั้งค่ากล้องสำหรับการระบายแสง
วิธีการถ่ายภาพยามค่ำคืนและการเพิ่มแสงสำหรับเทคนิคการถ่ายภาพยามที่น่าตื่นเต้นและสนุกสนาน
DCM143.feature.s5_08_step1
1 จัดองค์ประกอบภาพ
การจัดองค์ประกอบภาพในความมืดทำได้ค่อน ข้างยาก ดังนั้นให้เปิดโหมด Live View เพื่อดูภาพจากจอแทน ตั้งกล้องบนขาตั้งกล้องแล้วจัดองค์ประกอบภาพจากจอภาพ คุณจะพบว่าการดูภาพจาก Live View จะง่ายขึ้นถ้าคุณตั้งค่า ISO ไว้ที่ค่าสูงๆ อย่าง 6400 หรือสูงกว่านี้

DCM143.feature.s5_08_step2
2 ตั้งค่ากล้อง
ตั้งค่ากล้องไว้ที่โหมดโฟกัสแบบแมนวลและ ค่อยๆ โฟกัสตัวแบบที่คุณจะฉายแสงด้วยไฟของคุณ อย่าลืมเปลี่ยนค่า ISO กลับลงมาให้เป็น ISO 200 จากนั้นให้คุณตั้งค่าความไวชัตเตอร์ไว้ที่ค่า B (Bulb) และค่าช่องรับแสงที่ f/11 ในโหมดค่าการเปิดรับแสงแมนวล

DCM143.feature.s5_08_step3
3 เปิดแสงให้ตัวแบบ
ให้คุณใช้สายลั่นชัตเตอร์เพื่อล็อก ชัตเตอร์ให้เปิดค้างไว้แล้วระบายแสงลง บนตัวแบบ การให้แสงนั้นก็เหมือนกับการถ่ายภาพทั่วไป แสงจากด้านข้างจะเผยให้เห็นรายละเอียดมากกว่าแสงที่ส่องออกไปจากกล้อง ระวังอย่าฉายส่องไฟฉายเข้ามาที่เลนส์

DCM119.feature.sprd5_light_trails d9892cac30b646f88d77b31e8f7785
ถ่ายภาพเส้นแสงยามค่ำคืนที่ดึงดูดสายตา
แทนที่จะเพิ่มแสงของคุณให้กับภาพยามค่ำ คืน คุณเองก็ยังสามารถใช้ตัวแบบที่เคลื่อนไหวอย่างเช่นการจราจรเพื่อสร้างสรรค์ เส้นแสงได้ กล้องของคุณจำเป็นต้องอยู่นิ่งเพื่อเปิดรับแสงยาวนาน ดังนั้นให้คุณตั้งกล้องไว้บนขาตั้งกล้องที่มั่นคง
จากนั้นคุณจำเป็นต้องตั้งกล้องไว้ที่โหมด การเปิดรับแสงแบบแมนวลแล้วใช้ แป้นควบคุมหลักปรับค่าความไวชัตเตอร์จนกระทั่งคำว่า “Bulb” ปรากฏขึ้นที่หน้าจอแสดงผล ต่อมาให้ตั้งค่าช่องรับแสงไว้ที่ f/11 และ ISO 200 อย่างไรก็ตามคุณสามารถเปลี่ยนมาใช้ช่องรับแสงที่กว้างขึ้นได้หากสภาพ แสงบริเวณนั้นมีน้อยหรือจะใช้ช่องรับแสงที่หรี่แคบลงในกรณีที่สว่างเกินไป
ค่าการเปิดรับแสง
อันดับต่อมาให้ใช้สายลั่นชัตเตอร์ล็อก ชัตเตอร์ในช่วงเปิดรับแสงแล้วจับ เวลาด้วยนาฬิกาหรือแม้แต่คำสั่งจับเวลาในโทรศัพท์มือถือเพื่อค่าการเปิดรับ แสงที่แม่นยำ
ค่าการเปิดรับแสงที่คุณจำเป็นต้องใช้นั้น ก็ขึ้นอยู่กับปริมาณแสงจากไฟฟ้า บริเวณท้องถนนหรือแหล่งแสงอื่นๆ ภายในภาพ ในเมืองที่สว่างไสว คุณอาจเริ่มต้นค่าการเปิดรับแสงที่ราวๆ 30 วินาที ขณะที่ในสภาพแวดล้อมที่ค่อนข้างมืดนั้น คุณคงต้องใช้ค่าการเปิดรับแสงที่ยาวนานขึ้นอย่าง 60 วินาทีหรือนานกว่านั้น
“ค่าการเปิดรับแสงนั้นก็ขึ้นอยู่กับปริมาณแสงที่มีในสภาพแวดล้อมนั้น”

DCM143.feature.s5_10_example
เพิ่มเอฟเฟ็คท์ประกายดาวให้กับภาพกลางคืน
การระบายด้วยแสงและการบันทึกเส้นแสงด้วย ค่าการเปิดรับแสงที่ยาวนานนั้น เป็นวิธีที่เหมาะสำหรับการเพิ่มความน่าตื่นตาให้กับภาพถ่ายกลางคืนของคุณ แต่สำหรับภาพถ่ายที่ดูโรแมนติกและสวยงามนั้น คงไม่มีอะไรจะสู้ภาพเมืองหรือหมู่บ้านที่เปี่ยมไปด้วยประกายแสงที่บอบบางได้ คุณสามารถใช้ปลั๊กอินของโปรแกรม Photoshop เพื่อเพิ่มเอฟเฟ็คท์นี้ หรือไม่เช่นนั้นคุณก็สามารถสร้างสรรค์เอฟเฟ็คท์นี้ได้ตั้งแต่ในขั้นตอนการ ถ่ายภาพเลย
คุณจำเป็นต้องใช้ตัวแบบที่มีแหล่งแสง เล็กๆ จำนวนมากอย่างเช่นไฟจากท้องถนน จากนั้นให้คุณบันทึกภาพประกายดาวเหล่านี้ด้วยช่องรับแสงขนาดเล็กอย่างเช่น f/16 หรือ f/22 การถ่ายภาพด้วยช่องรับแสงลักษณะนี้ทำให้คุณต้องใช้ค่าความไวชัตเตอร์ที่กิน เวลานานมากๆ โดยไม่ปรับใช้ค่า ISO สูง รูปทรงและลักษณะประกายดาวนั้นจะแตกต่างกันไปในเลนส์แต่ละตัว เพราะลักษณะภาพที่ได้นั้นจะขึ้นอยู่กับรูปทรงและการออกแบบกลีบช่องรับแสงภาย ในกระบอกเลนส์แต่ละรุ่น
สนับสนุนเนื้อหา: www.digitalcamera-thailand.com



ที่มา: hitech.sanook.com
 
สั่งอัดรูปออนไลน์ / Digital Offset Print / Photo Gift / Photo Book
ได้ที่
www.masterphotonetwork.com


ติดตามข่าวสารและกิจกรรมดีๆ จากมาสเตอร์ได้ที่
Facebook : Master Photo Network   
คำคมที่ใช้ในการถ่ายภาพ , Photo Book, ภาพตลก, ภาพ สวยๆ, ภาพข่าว, ภาพถ่าย, ร้านมาสเตอร์,





Alex MacLean ช่างภาพทางอากาศมือหนึ่งของอเมริกา

Alex MacLean ช่างภาพทางอากาศมือหนึ่งของอเมริกา

ช่างภาพทางอากาศมือหนึ่งของอเมริกา
Alex MacLean ช่างถ่ายภาพทางอากาศมือหนึ่งของอเมริกา พูดคุยกับGeoff Harris เกี่ยวกับอาชีพรุ่งเรืองที่อยู่บนอากาศตลอดเวลา
DCM138.interview.alex_maclean
Alex MacLean เริ่มการเป็นช่างถ่ายภาพทางอากาศตั้งแต่ปี 1970 ภาพถ่ายของเขาได้รับการจัดแสดงอย่างกว้างขวาง เขาได้รับรางวัลมากมายรวมถึง รางวัลงานหนังสือนานาชาติโครีนปี 2009 รางวัลกรุงโรมสำหรับภูมิสถาปัตย์ Alex ได้เขียนหนังสือ 11 เล่ม รวมถึง Over: The American Landscape at the Tipping Point และ Up on the Roof: New York’s Hidden Skyline Space
Alex MacLean เป็นปรมาจารย์มือหนึ่งด้านการถ่ายภาพทางอากาศของสหรัฐอเมริกา ในชีวิตการทำงานมากว่า 40 ปี เขาเคยบินเหนืออเมริกามาทั่วแล้วเพื่อเก็บภาพภูมิทัศน์ซึ่งมีทั้งไร้กาลเวลา และเปลี่ยนแปลงอยู่เนืองนิจ ด้วยภูมิหลังการฝึกฝนเป็นสถาปนิก เขาได้ถ่ายทอดประวัติศาสตร์และวิวัฒนาการของผืนแผ่นดินจากดินแดนเกษตรกรรม อันกว้างใหญ่ไปจนถึงรูปแบบตารางของเมือง โดยบันทึกภาพการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากฝีมือมนุษย์และกระบวนการทางธรรมชาติ
“ผมสนใจการถ่ายภาพตั้งแต่เด็ก แต่มาเริ่มสนใจอย่างจริงจังเมื่อตอนเรียนสถาปัตย์” Alex กล่าว “ผมได้ยินอาจารย์คนหนึ่งพูดถึงภาพถ่ายทางอากาศ ซึ่งดึงดูดความสนใจผมมากโดยเฉพาะเมื่อผมมีเพื่อนสนิทที่ลุงของเขาเป็นเจ้า ของโรงเรียนฝึกบินที่ใหญ่ที่สุดในอเมริกา”
“ผมได้ไปทำงานในฐานะผู้ดูแลค่ายที่โรงเรียนฝึกบินแห่งนี้ซึ่งทำให้ผม สามารถฝึกบินได้เมื่อมีเวลาว่าง ผมได้ใบอนุญาตนักบินมาในเวลาไม่นานนัก”
หลังจากการเรียนต่อ Alex ได้งานที่บริษัทภูมิสถาปัตย์แห่งหนึ่ง แต่ธุรกิจไปได้ไม่ดีนักเมื่อเศรษฐกิจตกต่ำ “ผมเลยตัดสินใจไข่วคว้าสิ่งที่ผมชอบสามอย่าง คือ การขับเครื่องบิน การถ่ายภาพ และภูมิทัศน์ โดยการพยายามหาเลี้ยงชีพด้วยการเป็นช่างถ่ายภาพทางอากาศ ตอนแรกๆ ก็ไม่ค่อยมีงานนัก และผมต้องเป็นพนักงานเสิร์ฟเพื่อหาเงินเพิ่ม แต่ในที่สุดก็เริ่มมีงานถ่ายภาพทางอากาศเข้ามาจากบริษัทอสังหาริมทรัพย์ ต่างๆ
“ผมซื่อไปในตอนแรก ผมไม่รู้ว่าผมสามารถบอกราคาที่แตกต่างกันได้ระหว่างลูกค้าหลายรายสำหรับภาพ เดียวกัน และไม่มีความรู้เอาเสียเลยเกี่ยวกับลิขสิทธิ์กับการใช้งานและอื่นๆ แต่ผมก็ได้เรียนรู้ในเวลาต่อมา”

หัวข้องานและรูปแบบ  
Alex ยังได้ขายภาพทางอากาศให้แก่ห้องสมุดมหาวิทยาลัยต่างๆ เพื่อเป็นสื่อการเรียนการสอน ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการถ่ายภาพของเขามาก “มันทำให้ผมนึกถึงหัวข้อและรูปแบบของภูมิทัศน์หลากหลายแนว เช่น สวนสาธารณะในเมืองและถนนหนทาง ไปจนถึงพื้นที่เกษตรกรรมแบบต่างๆ ผมเริ่มมองเห็นภาพพื้นที่ต่างๆ ที่จะรวบรวมไว้และสร้างเป็นผลงานขึ้นมาได้”
งานใหญ่เข้ามาเมื่อสถาบันเงินทุนเพื่อศิลปะแห่งชาติของสหรัฐอเมริกาได้ ว่าจ้าง Alex ดำเนินโครงการใหญ่เกี่ยวกับเมืองขนาดเล็ก “ในที่สุดผมก็สามารถซื้อเครื่องบินเป็นของตนเองได้ ซึ่งทำให้การถ่ายภาพของผมเปลี่ยนไป” Alex ย้อนความหลัง
เมื่อ Alex เริ่มก้าวเข้าสู่วงการช่างถ่ายภาพทางอากาศในช่วงปี 1970 นั้น มีบริษัทคู่แข่งเพียงไม่กี่ราย “มันให้ความรู้สึกเหมือนผมกำลังสำรวจโลกใหม่” เขาจำได้ว่า “ดังนั้นผมจึงสามารถสร้างสไตล์ของผมเองได้ ในตอนแรกผมเน้นการถ่ายทอดความสวยงามของภูมิทัศน์ แต่ต่อมาผมเริ่มให้ความสำคัญต่อการเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมอันเนื่องมา จากมลพิษและการขยายเมืองและอื่นๆ ในโครงการใหญ่ๆ ที่ผมถ่ายภาพทั้งภูมิภาค ผมพบว่าผมชอบที่จะเริ่มงานโดยไม่มีความรู้เกี่ยวกับสถานที่นั้น และได้สำรวจมันด้วยตาของผมเอง แน่นอนผมจะอ่านข้อมูลและศึกษาสัญลักษณ์ของพื้นที่ที่ผมจะถ่ายภาพก่อนทำงาน แต่ผมไม่ชอบที่จะกะเกณฑ์สิ่งต่างๆ ล่วงหน้า การได้เข้าไปยังสถานที่ที่ผมไม่เคยถ่ายภาพมาก่อนมันน่าตื่นเต้นมากๆ”
 มากกว่าความงาม
แน่นอนอยู่แล้วว่าการขับเครื่องบินขณะถ่ายภาพกลางอากาศไปด้วยเป็นทักษะ ที่ต้องอาศัยเวลาในการสร้างความชำนาญ “คุณต้องแม่นในเรื่องตำแหน่งและการคาดหมายสิ่งที่จะเกิดขึ้น” Alex อธิบายแบบฟังดูเป็นเรื่องง่ายตามลักษณะนิสัยถ่อมตัวของเขา “มีหลายสิ่งที่คุณต้องคิด อย่างแรกคือการคำนึงถึงเรื่องแสง เมื่อคุณบินวนรอบสิ่งที่คุณจะถ่าย แสงจะเปลี่ยนไปและคุณจะต้องใช้มันให้เป็นประโยชน์ เทคนิคการถ่ายย้อนแสงก็เยี่ยมสำหรับการให้แสงแก่ทุ่งหญ้าในขณะที่ผืนน้ำจะ มืดสนิท หรือสะท้อนแสงเป็นกระจกเงา เป็นต้น จากนั้น คุณก็ต้องคิดถึงขนาดภาพถ่ายที่ความสูง 500 ฟุต จะต่างจากภาพถ่ายที่ระดับ 2000 ถึง 3000 ฟุต”
Alex ต่างจาก Jason Hawkes นักถ่ายภาพทางอากาศมือหนึ่งของอังกฤษที่เราเคยได้สัมภาษณ์ไปแล้ว จากการที่เขาชอบถ่ายภาพในเวลากลางวันมากกว่ากลางคืน “กลางวันให้โอกาสต่างๆ มากกว่า แน่นอนว่ากลางคืนน่าสนุกและตื่นเต้นกว่า และ ISO ความไวแสงสูงในกล้องดิจิตอลจะทำให้การถ่ายภาพง่ายขึ้น แต่ผมยังมองว่ามันมีข้อจำกัดอยู่ กลางคืนเป็นเหมือนเครื่องกรองที่ชี้นำให้ผู้ชมได้รับสารอีกแบบ มันจำกัดความคิดในแบบนี้ แต่ก็เหมาะสำหรับการถ่ายภาพเมือง ถนน และโครงข่ายถนนต่างๆ”
เมื่อพูดถึงการจัดองค์ประกอบภาพที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก Alex มีแนวคิดที่น่าสนใจ “ผมมักจะใคร่ครวญถึงรูปลักษณะของสิ่งของและสี แล้วผมก็ยังคิดถึงภาพทิวทัศน์ในลักษณะ 4 มิติ โดยมิติที่สี่คือเวลา ภูมิทัศน์จะเปลี่ยนแปลงตลอดถ้าคุณคำนึงถึงกาลเวลา และคุณถ่ายทอดเวลาผ่านทางการเคลื่อนไหวหรือความเปลี่ยนแปลง การขยับเคลื่อนของอะไรบางอย่าง เช่น ก้อนเมฆ หรือรถมอเตอร์ไซค์วิ่งผ่านทะเลทราย”
 การจัดแสงและวางกรอบภาพ  
“ผมต้องการเก็บรูปทรงเรขาคณิตที่มีความเกี่ยวโยงกับสิ่งอื่นไว้ในภาพ พูดง่ายๆ คือ ผมชอบให้มีสิ่งที่แตกต่างกันในรูป โดยลองใช้เหลี่ยมมุม เขตแดน การวางทับซ้อน และอื่นๆ เพื่อเน้นความแตกต่างทางสายตา การวางตำแหน่งของสิ่งต่างๆ ในกรอบที่คุณจะถ่ายมีความสำคัญมากทีเดียว”
กล้องดิจิตอลช่วยช่างภาพทางอากาศอย่าง Alex ได้มาก เขาอธิบายว่า “ผมมีปัญหาในการเปลี่ยนมาใช้กล้องดิจิตอลในช่วงปี 2003 ถึง 2004 และได้พยายามที่จะใช้ทั้งกล้องดิจิตอลและกล้องที่ใช้ฟิล์ม แต่มันไม่ได้ผล แล้วก็มีใครสักคนที่บอกผมว่ามันก็เหมือนการวาดภาพสีน้ำกับการวาดภาพสีน้ำมัน ที่คุณจะต้องใช้อย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งทำให้ความคิดผมเปลี่ยนไป ตอนนี้ผมใช้แต่กล้องดิจิตอลเท่านั้นเพราะภาพที่ออกมามีความละเอียดมากกว่า”
“ข้อมูลของภาพถ่าย (Metadata) ก็มีประโยชน์มากด้วย คุณได้ข่าวสาร และผลตอบรับมากมาย การมีข้อมูลของภาพจะช่วยบอกได้ว่าแบบไหนใช้ได้หรือไม่ได้ และกับกล้องดิจิตอลคุณไม่ต้องคอยเรียงฟิล์มตามลำดับซึ่งเป็นเหมือนฝันร้ายบน อากาศเลยล่ะ”
ใช้โหมดปรับตั้งความเร็วชัตเตอร์เอง
Alex ถ่ายภาพโดยไม่ใช้อุปกรณ์อื่นช่วยเพื่อให้ได้ความละเอียดของภาพและแสงมากที่ สุดโดยใช้การปรับแต่งภาพเข้าช่วย แต่เขาถ่ายโดยใช้โหมดปรับตั้งความเร็วชัตเตอร์เอง (Shutter Priority mode) มากกว่าโหมดแมนวลหรือโหมดปรับตั้งช่องรับแสงเอง (Aperture Priority mode) “ผมชอบถ่ายที่ความเร็ว 1/200 วินาที ISO อัตโนมัติ” เขากล่าว “ภูมิทัศน์ก็เหมือนฉากสีเทาซึ่งค่อนข้างแน่นอนและคุณไม่ต้องปรับแต่งกล้อง มากนัก นอกจากบางกรณี เช่น เมื่อคุณจะถ่ายภาพหิมะ คุณต้องเปิดหน้ากล้องกว้างเพื่อให้ภาพหิมะออกมาเป็นสีขาว ภาพของผมส่วนใหญ่ถึงร้อยละ 95 ถ่ายได้ออกมาตรงตามต้องการเมื่อถ่ายด้วยโหมดปรับตั้งความเร็วชัตเตอร์เอง ผมจึงไม่ต้องปรับแต่งด้วยโปรแกรมอย่างโฟโต้ช็อปอะไรมากหลังจากถ่ายภาพแล้ว”
แล้วเป้าหมายในอนาคตของช่างถ่ายภาพทางอากาศมือฉมังคนนี้คืออะไร? ดูเหมือนเขาจะได้เห็น ได้ทำมาหมดแล้วสำหรับการถ่ายภาพทางอากาศ “สิ่งที่ผมหวังมากที่สุดคือการมีเวลามากกว่านี้! ตอนนี้ผมอายุ 66 แล้ว แต่ว่าช่างถ่ายภาพทางอากาศบางคนทำงานจนถึงอายุเจ็ดสิบเลยนะ ใครจะรู้ว่าในอนาคตการถ่ายภาพของผมจะเป็นอย่างไร”
“ผมอยากทิ้งผลงานที่บอกเล่าเรื่องราวในช่วงเวลาของผมไว้ โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความยั่งยืน เมื่อเร็วๆ นี้ ผมได้ถ่ายภาพทางอากาศเหนือเยอรมนี และรู้สึกประทับใจความเจริญรุ่งเรืองพร้อมกับความยั่งยืนของพื้นที่ พวกเขาดูเหมือนจะมีสมดุลย์ที่ดี และผมอยากจะศึกษาเรื่องนี้ให้มากขึ้น”
ชมภาพเพิ่มเติมได้ที่ www.alexmaclean.com
DCM138.interview.alex_maclean_0136
Santa Rosa Island, Florida
Santa Rosa ได้รับความเสียหายอย่างหนักจากเฮอริเคนในปี 2004 และ 2005 น้ำทะเลที่สูงขึ้นกัดเซาะชายฝั่ง แต่อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวก็ยังดึงดูดนักลงทุนมาปลูกสร้าง
DCM138.interview.alex_maclean_4060
Conrad, Montana, 1991
ทุ่งข้าวสาลีเอนลู่ทำมุมฉากตามแรงลม
DCM138.interview.alex_maclean_4384
 North Central, Ohio, 1996
แนวมะเขือเทศเขียวที่ถูกทิ้งอยู่บนลานใกล้โรงงานบรรจุกระป๋อง

DCM138.interview.alex_maclean_0621_07_2
 Tuscon, Arizona, 1994
สุสาน B-52 สำหรับเครื่องบินรบที่หยุดบินจากสนธิสัญญาอาวุธสงครามกับอดีตสหภาพโซเวียต
DCM138.interview.alex_maclean_5130
Southern New Hampshire, 1982
ภาพรถเก่าดูสวยดีแต่การปล่อยให้ผุพังริมฝั่งแม่น้ำเป็นเรื่องที่น่ากังวล
DCM138.interview.alex_maclean_2549_29
Cincinnati, Ohio, 1987
Alex ถ่ายภาพย่านเสื่อมโทรมในเมืองระหว่างบินไปชานเมือง
DCM138.interview.canon5dmarkIII
ในกระเป๋าของเขา
กล้อง SLR ตัวโปรดของผมคือ Canon EOS 50 Mark III ซึ่งดูจะไว้ใจได้มากกว่าตัว Mark II ในเรื่องของเลนส์ ผมชอบเลนส์ของ Canon ขนาด 70-200 มม. f/2.8 L Series และขนาด 24-105 มม. กับขนาด 135 มม. ผมเคยมีปัญหากับการใช้เลนส์ซูมและการตัดแต่งภาพ แต่ตอนนี้ผมชินแล้ว เครื่องบินโปรดของผมคือ เครื่องเซสนาปีกสูง ระยะบิน 150-182 และเครื่องบินเล็กเบา
เบื้องหลังภาพถ่าย
“ตอนผมถ่ายภาพนี้ผมเพิ่งจะเปลี่ยนจาก Nikon มาใช้ Canon และตอนนี้ผมอาจจะเปลี่ยนกลับอีกครั้ง!”
องค์ประกอบภาพ   
ภาพนี้ถ่ายในปี 1990 เป็นภาพสาหร่ายที่ขึ้นอยู่ระหว่างขอนไม้ในแม่น้ำโคลัมเบีย ผมบินผ่านมันและถ่ายรูปไว้จำนวนหนึ่งแต่รูปนี้เป็นรูปที่ดีที่สุดเพราะ น้ำหนักของภาพที่ทุกสิ่งวางอยู่เกือบจะตรงกึ่งกลาง ความสมดุลย์ของภาพเป็นสิ่งสำคัญสำหรับภาพถ่ายทางอากาศ
ค่าเปิดรับแสง
“ผมถ่ายโดยใช้โหมดปรับตั้งความเร็วชัตเตอร์เองตามที่ผมถนัด ความเร็วของชัตเตอร์ที่ 1/1000 วินาที ตามปกติผืนดินจะทำหน้าที่เหมือนฉากเทาอยู่แล้วแต่รูปนี้ผมต้องวัดค่าต่างๆ อย่างระมัดระวังเพราะความมืดของน้ำ
อุปกรณ์  
ถ่ายด้วยกล้อง Canon แบบใช้ฟิล์ม EOS 35 มม. กล้อง SLR ที่มีโฟกัสอัตโนมัติเป็นอะไรที่ต้องอาศัยความคุ้นเคยแต่มันทำให้งานของผม ง่ายขึ้นเยอะเลยผมถ่ายภาพนี้ด้วยฟิล์ม Kodachrome 64 (Kodachrome 64) เพราะชอบความละเอียดของเนื้อภาพ และผมตั้ง ISO ไว้ต่ำกว่าที่ควรจะเป็นเพื่อควบคุมจุดเด่นของภาพ
 “ผมคำนึงถึงรูปทรงต่างๆ มาก แล้วผมก็ยังคิดถึงภาพทิวทัศน์ในลักษณะ 4 มิติ โดยมิติที่สี่คือเวลา”

ที่มา: hitech.sanook.com

 
สั่งอัดรูปออนไลน์ / Digital Offset Print / Photo Gift / Photo Book
ได้ที่
www.masterphotonetwork.com


ติดตามข่าวสารและกิจกรรมดีๆ จากมาสเตอร์ได้ที่
Facebook : Master Photo Network   
คำคมที่ใช้ในการถ่ายภาพ , Photo Book, ภาพตลก, ภาพ สวยๆ, ภาพข่าว, ภาพถ่าย, ร้านมาสเตอร์,

วันอังคารที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2557

เทคนิคการถ่ายภาพ : มือใหม่ถ่าย Macro ให้ดู..."สวย"


หลายๆ ท่านที่เริ่มฝึกถ่ายรูปใหม่ๆ คงจะเคยได้ยินและได้อ่าน...
คำว่า...มาโคร!?
มันคืออะไร...!? เป็นอะไรกับแมคโครโลตัสไหม? หรือยังไงแน่ >"<

...จริงๆ แล้วมันคือประเภทของรูปถ่ายอีกแบบหนึ่งเท่านั้นเองครับ
...รูปชนิดที่เรียกว่า "มาโคร" ก็คือรูปที่เราถ่ายใกล้ๆ นั่นเอง... ^^

ถามว่า...ใกล้แค่ไหน? ใกล้มากไหม๊? ใกล้เพื่ออะไร >"<
อ่า...ก็ลองนึกภาพเล่นๆ ดูสิครับ...ว่า...ใกล้ชนิดที่ตาคนเราไม่เคยเห็น
ใกล้จนทำให้เกิดมุมมองใหม่ๆ ที่น่าตื่นตาตื่นใจ...
ทำให้เกิดโลกใบใหม่มาปรากฏอยู่บนรูปถ่ายกันเลยทีเดียวครับ...



เราลองมาคิดกันเล่นๆ ว่า จะถ่ายยังไงให้มัน...สวย!?

รูปถ่ายทั่วๆ ไปที่ดูสวย...มีองค์ประกอบดังนี้ครับ (เริ่มเป็นจริงเป็นจัง 555+)

1. มีเรื่องราวในรูป เช่น ถ่ายตัวอะไร ทำอะไรอยู่ ถ่ายทำไม บอกอะไรเราบ้าง?
2. ตำแหน่งการวางภาพ น้ำหนักภาพเป็นยังไง สบายตาไหม น่าสนใจไหม?
3. ความชัด...โฟกัส ชัดตรงไหน ไม่ชัดตรงไหน?
4. แสง...สว่างไปไหม มืดไปไหม??? มองเห็นสิ่งที่จะถ่ายไหม?
5. สี...สดใสไหม หรือทึมๆ หรือจืดๆ หรือยังไง!?

หมดละครับ ^^" แค่นี้ก็ทำให้รูปสวยได้ละ...

คราวนี้มาว่ากันต่อเรื่อง รูปถ่าย "มาโคร" ที่ดูสวย...ทำไงถึงจะสวย!?
เราก็เอาหลักการด้านบนมาประยุกต์ใช้แค่นั้นเองครับ...

1. ถ่ายแมลง ก็ให้มีเรื่องราว พยายามหามุมที่เท่ห์ๆ ปีกสวยๆ กิจกรรมที่แมลงทำ
เพราะแมลงและแมงบางส่วนชอบอยู่นิ่งๆ เหมือนหุ่น >"<
ส่วนที่เหลืออีกบางส่วนก็ชอบบินฉวัดเฉวียนด้วยความเร็วสูง >"<

2. วางภาพตามหลักจุดตัดเก้าช่องก็จะดีครับ รูปจะดึงดูดสายตามากๆ
น้ำหนักภาพจะดี ดูน่าสนใจ อารมณ์คนดูเบิกบาน 555+

3. เน้นความชัดหรือจุดโฟกัสให้แม่น เพราะการถ่ายระยะใกล้จะโฟกัสยากมากๆ
บางทีหัวแมลงชัด แต่ปีกแมลงไม่ชัด แต่...ก็แล้วแต่เราอยากโชว์ส่วนไหนด้วย
และที่สำคัญ ฉากหลังรกๆ เราก็ละลายมันซะครับ ^^

4.แสง ก็เอาพอประมาณครับ ปรับแสงให้พอดีๆ หน่อย
ถ่ายที่สว่างมากๆ จะถ่ายง่าย คมชัดง่าย แต่บางทีก็สว่างจนขาวไปหมด
ถ่ายที่มืดมากๆ ก็จะเบลอสนิท ต้องเปิดแฟลชช่วย 
ได้รูปฉากหลังดำ เท่ห์ไปอีกแบบ สิ่งมีชีวิตตัวเล็ก มักโดนร่มไม้บังเสมอครับ ^^

5.สี...ผมเชื่อว่าสีที่สดใส เหมาะกับรูปมาโครมากกว่าครับ ^^ พยายามหาสีที่...
เน้นให้เจ้าแมลงตัวเล็กของเราเด่นขึ้นมาให้ได้ ยิ่งได้ฉากหลังที่ตัดกับสีแบบ
ยิ่งทำให้ดูเหมือนถ่ายรูปเก่งมากๆ ครับ ฟลุ๊คบ้างจะเป็นไรไป 555+



อุปกรณ์ที่ใช้ในการถ่ายมาโคร..."สำหรับ...มือใหม่" มีดังนี้ครับ

1.กล้องถ่ายรูปและตัวคุณ ใส่เสื้อแขนยาวไว้ก็ดีครับ
ถ้าไม่อย่างนั้น ไม่ตัวดำปี๋ ก็ยุงกัดแขนลาย >"<

2.ขาตั้งกล้อง (กรณีแสงไม่พอ ภาพจะเบลอ เพราะสปีดชัตเตอร์ต่ำๆ)
แต่ต้องเป็นแบบปรับให้ต่ำๆ ได้นะครับ ไม่งั้นสูงไปจะเห็นแต่หลังของแมลง Y_Y

3.หัวใจและมุมมองที่พร้อมจะเปิดโลกใบใหม่ ^^
มุมมองที่แสนจะน่าตื่นตา+ตื่นใจรอคุณอยู่ ^^

4.เลนส์มาโคร!? อันนี้...ผมว่ามือใหม่ไม่ต้องก็ได้
ผมก็หัดถ่ายเอาจากเลนส์เทเลเนี่ยแหล่ะครับ >"<
ฝึกฝนมุมมองและนิสัยใจคอของแมลงไปก่อนก็ได้...
เอาไว้เก่งๆ แล้ว + มีตังค์ ผมก็ว่าจะไปซื้อมาซักอันเหมือนกัน ^^"
แต่ตอนนี้ขอลองฝึกหัดดูก่อนว่ามาโคร...ถ่ายยังไง...ให้สวย...

5.นางแบบและนายแบบ ...แมลงมดปลวก หนอน ดอกไม้ แมงมุม ฯลฯ



แล้ว...เราจะถ่ายอะไร ที่ไหนดี!?
ขอย้ำว่า...ไม่ถ่ายตึกรามบ้านช่องแน่ๆ ครับสำหรับมาโคร...Y_Y
ต้องเป็นอะไรๆ ที่ "เล็กๆ" ที่ไม่เรียกว่ารักอีกนั่นแหล่ะ ^^"
สถานที่สำหรับถ่ายรูปทั้งหมดในบทความนี้...คือ...
ที่พงหญ้าข้างทางครับ
Y_Y

แมลงปอ คือ บนเรียนเริ่มต้นที่ดีมากครับ เพราะ...มันไม่กลัวคน
เพราะ...มันมักจะบินมาเกาะที่เดิมๆ เสมอ
เพราะ...มันนิ่งเป็นหุ่น...เสมอๆ

เอาไว้ฝึกการปรับความชัด ละลายฉากหลัง เล่นแสงสีได้เป็นอย่างดีครับ ^^
จะเห็นว่า แค่ถ่ายให้มันชัด ละลายฉากหลัง วางไว้ตรงจุดตัดเก้าช่อง
แค่นี้ก็ดูเป็นโปสการ์ดเลยครับ ^^"
มือใหม่อย่างผมก็ทำได้ไม่ยาก ^^
(เจ้าแมลงปอตัวนี้มีตาด้วยครับ มองกล้องด้วย >"<)



ผึ้ง!!!...>"< ตัวนี้จะยากขึ้นมาอีกนิด มันไม่ค่อยบินไปไหนไกล
และที่สำคัญ มันไม่กลัวคนแน่นอนครับ ^^"
ใครไม่เชื่อลองเข้าไปใกล้ๆ มันดู Y_Y 555+



ปัญหาในการถ่ายผึ้งนอกจากต้องระวังมันจะต่อยเอาแล้ว...>"<
มันยังไม่ค่อยทำท่าทางสวยๆ อะไรเท่าไหร่ แถมปีก ก็เร็วๆๆๆ มากๆๆๆ
ถ้าแสงไม่พอ หรือสปีดชัตเตอร์ไม่ถึง ปีกก็จะเบลอทันทีครับ
ผึ้งส่วนใหญ่จะตัวเล็กกว่าแมลงปอพอสมควร...

เราอาจจะใช้พวกเส้นลายของฉากหลัง
หรือดอกไม้ใบหญ้าต่างๆ มาเพิ่มความสวยให้รูปของเราอีกทางก็ได้ครับ...



ผมก็พยายามถ่ายตอนมันบินอยู่บ้าง...แต่...ฝีมือไม่ถึงขั้นครับ Y_Y
ความไม่ชัดและเบลอ...ก็เลยตามมาพร้อมๆ กัน



และพระเอก ที่บรรดาๆ ชาวมาโครต้องเคยฝึกถ่าย ก็คือ ผีเสื้อครับ...
ผีเสื้อคือสิ่งมีชีวิตตัวเล็กๆ ที่แสนจะสวยงาม บอบบาง...น่าทะนุถนอม...
และ...มันไม่ตกใจเมื่อได้ยินเสียงครับ ^^
ดังนั้น เรามีสิทธิ์ย่องเข้าไปหามันใกล้ๆ ได้...



ผีเสื้อเป็นที่นิยมเพราะ...ปีกที่สวยสารพัดสี สารพันเผ่าพันธุ์ และยังมีท่าทางที่...
น่ารัก อิสระ เสรี...โบกบินไปมา...แต่ถ่ายไม่ทันหรอกครับ 555+
เราก็ควรเลือกถ่ายตอนที่มันเกาะนิ่งๆ รอให้เห็นสีบนปีกบ้าง รอมันกางปีก
เพราะบางทีผีเสื้อบางตัว เวลาหุบปีกเนี่ยดูแทบไม่ได้ครับ >"<
รอให้เกาะดอกไม้สวยๆ บ้าง ช่วยเพิ่มความสวยของรูปได้อีกทาง...

ลองมาดูจังหวะของรูปที่ไม่ควรถ่ายครับ นอกจากจังหวะแล้ว...
มุมมองก็ไม่ได้เรื่องครับ ถ่ายผีเสื้อแต่ได้รูปตัวอะไรไม่รู้ 555+
(แนะนำว่าให้กดรัวๆๆๆ ไปเลยครับ รอปีกกางเดี๋ยวถ่ายไม่ทัน >"<)



เชื่อเถอะครับว่าถ่ายผีเสื้อตอนกางปีก ย่อมดีกว่าตอนหุบปีกแน่นอน 555+



ถ้ามันหุบปีก เราก็ย้ายมาถ่ายด้านข้างก็ได้...ถ้าปีกด้านในกับด้านนอกสวยพอๆ กัน
แต่...ผีเสื้อบางชนิดปีกด้านในกับด้านนอกสวยกันคนละโลกก็มีครับ...



ที่ผมว่าถ่ายยากที่สุด...ก็คือตอนมัน บินๆๆๆ นี่แหล่ะครับ Y_Y ปีกเบลอๆ ไปเลย



แต่แล้ว...ในขณะที่ผมกำลัง ซูมๆ หมุนๆ จดๆ จ้องๆ เจ้าตัวเหลืองๆ นี้อยู่...
กำลังรอว่าเมื่อไหร่มันจะหันมายิ้มหวานให้ผมซะที...

ผมก็ได้พบกับเรื่องสุดสะเทือนขวัญ!!!!!!!!! Y_Y
เจ้าผีเสื้อน้อยสีเหลืองของผม...ผมได้ถ่ายรูปสุดท้ายแห่งชีวิตของมัน...


เพราะหลังจากนั้น...มีนกตัวนึง ตาแดงกล่ำ ย่องเข้ามา...
ขนาดใหญ่มหึมา...ใหญ่กว่าโลกของมาโคร...
แล้วก็คาบเอาเจ้าตัวเหลืองที่แสนน่ารักไป...Y_Y
คาบไปต่อหน้าต่อตา...
ผมนั่งก้นจ้ำเบ้า...ไม่เชื่อกับสิ่งที่เกิดขึ้น...

เจ้านกตาแดงกระโดดกับพื้นไม่กี่ก้าวเข้าข้างทางแล้วก็...บินขึ้นไปบนกิ่งไม้
ผมซูมกล้องตามทันที...และก็ได้พบว่า...ที่ปากของมัน...
มีน้องสีเหลืองอยู่...อยู่ในสภาพยับเยิน...
แงๆๆๆๆๆๆๆๆ Y_Y



และอีกไม่กี่อึดใจ...น้องสีเหลืองก็ถูกขม้ำๆๆๆ กลายเป็นผุยผง...Y_Y
ผงผีเสื้อน้อยสีเหลืองฟุ้งกระจาย...คาปากของเจ้าตาแดง...
หายวับไปกับตา...Y_Y



ดูท่าทางมันจะพอใจกับอาหารมื้อนี่มาก...
ไม่รู้ตัวเลยว่า...ผมเฝ้าติดตามมันทุกฝีก้าว...ยืนแอ๊คท่าให้ผมถ่ายรูปอย่างใจเย็น



นี่แหล่ะครับ...ธรรมชาติ...
สัตว์ในโลกมาโครต้องเป็นอาหารของสัตว์ที่ตัวใหญ่กว่า Y_Y

หวังว่าบทเรียนมาโครครั้งนี้...จะทำให้เพื่อนๆ เข้าใจความหมายของมาโคร...
และ รัก มาโคร กันมากขึ้นกว่าเดิมนะครับ Bye bye T_T










ที่มา: oknation.net



สั่งอัดรูปออนไลน์ / Digital Offset Print / Photo Gift / Photo Book
ได้ที่
www.masterphotonetwork.com


ติดตามข่าวสารและกิจกรรมดีๆ จากมาสเตอร์ได้ที่
Facebook : Master Photo Network   
คำคมที่ใช้ในการถ่ายภาพ , Photo Book, ภาพตลก, ภาพ สวยๆ, ภาพข่าว, ภาพถ่าย, ร้านมาสเตอร์,



เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
"มาสเตอร์" เรามีประสบการณ์ด้านการอัดภาพมายาวนานกว่า 40 ปี โดยเราเป็นรายแรกในประเทศไทยที่ลงเครื่องอัดภาพระบบต่อเนื่อง ซึ่งเป็นจุดกำเนิดของคำว่า "รอรับได้ทันที" ที่ใช้กันแพร่หลายในปัจจุบัน "มาสเตอร์" เป็นรายแรกที่บุกเบิกการอัดภาพระบบดิจิตอลอย่างเป็นระบบและครบวงจร เป็นผู้สร้างมาตรฐานรูปแบบการอัดต่างๆ ในการสั่งอัดรูปดิจิตอล นอกจากนี้ “มาสเตอร์” ยังเป็นผู้สร้างสรรค์งานออกแบบและงานผลิตสิ่งพิมพ์คุณภาพทุกชนิด "มาสเตอร์" เล็งเห็นถึงความสำคัญของการใช้อินเตอร์เน็ตและประโยชน์ที่ลูกค้าได้รับ เว็บไซต์ www.MasterPhotoNetwork.com จึงถูกก่อตั้งขี้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2548 และเปิดให้ลูกค้าสามารถอัพโหลดและสั่งอัดภาพผ่านทางหน้าเวปไซต์ในปี พ.ศ.2551 เป็นต้นมา ปัจจุบันมีลูกค้าใช้บริการผ่านระบบออนไลน์ของเราจากทุกภาคทั่วประเทศ เรามีระบบการจัดส่งที่หลากหลายเพื่อความสะดวกสบายของลูกค้า และด้วยพนักงานที่จะคอยดูแลท่านพร้อมเครื่องอัดภาพที่ทันสมัยที่สุด เราสามารถรองรับงานได้ทุกรูปแบบ ลูกค้าจึงมั่นใจได้ว่างานที่ออกไปจากเราจะมีคุณภาพที่เป็นมาตรฐานและส่งตรงถึงมือลูกค้าอย่างแน่นอน