วันพฤหัสบดีที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2558

การเปิดเผยความลับในการถ่ายภาพกลางคืน

การเปิดเผยความลับในการถ่ายภาพกลางคืน


เมื่อดวงอาทิตย์สิ้นสุดการครอบงำด้วยรัศมีส่องสว่างและสิ้นสุดวัน ท้องฟ้าเปลี่ยนสีวินาทีต่อวินาที และสวรรค์ที่มืดครึ้มลงถูกแต่งแต้มด้วยสีสันที่มีชีวิตชีวาน่าอัศจรรย์ และเมื่อนั้นไฟบนท้องถนนเริ่มสว่างขึ้นทีละดวง ฉายให้เห็นความแตกต่างของลักษณะเด่นของยามราตรี เกิดเป็นฉากที่แตกต่างอย่างสิ้นเชิงจากตอนกลางวัน
06 เมษายน 2010
บาง ครั้งเราสงสัยเกี่ยวกับความรู้ของช่างภาพมืออาชีพที่ช่วยให้ได้ภาพงดงามที่ สุดจากฉากยามราตรีแสนมหัศจรรย์เหล่านี้ แต่จากนี้ไปคุณสามารถค้นหาเคล็ดลับเหล่านี้บางส่วนได้จากด้านล่างนี้

การ ถ่ายภาพกลางคืนแตกต่างอย่างไร? เมื่อเราถ่ายภาพและออกมานอกบ้านหลังจากพระอาทิตย์ตกดิน เราพยายามเล็งกล้องไปที่โน่นที่นี่รอบๆ ตัว ที่แสงสดใสสร้างเงามืดของรัตติกาล อย่างไรก็ตาม โชคไม่ดีอีกทั้งไม่สามารถคาดหวังได้ เพราะผลลัพธ์ที่ได้ไม่สว่างไสวอย่างที่ต้องการ และต่างจากภาพที่ถ่ายตอนกลางวันที่แสงสว่างชัดเจน นอกจากนี้ยังมีอุปสรรคที่มองไม่เห็นมากมายรออยู่ขณะที่เราพยายามถ่ายภาพกลาง คืน
ปริมาณแสงที่เกือบจะไม่เผยให้เห็นฉากหลัง ความต่างอย่างมากมายระหว่างพื้นที่สว่างกับพื้นที่มืด การถ่ายภาพแบบเปิดรับแสงยาวนาน สัญญาณรบกวน นี่ยังไม่ได้เอ่ยถึงการผสมผสานของแสงไม่พึงประสงค์หลากหลายจากทุกที่ที่มีสี ที่ไม่เคยเห็นมาก่อน และวัตถุที่สั่นและอยู่นอกโฟกัส... ใช่ มีปัญหามากมายที่จำเป็นต้องแก้ไขเพื่อถ่ายภาพกลางคืนอย่างเหมาะสม แต่ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จย่อมอยู่ที่นั่น ยิ่งไปกว่านั้น แทนที่จะมองว่าเป็นอุปสรรค เราอาจใช้ประโยชน์จากปัญหาเหล่านี้ได้ ด้วยวิธีนี้ เราสามารถสร้างภาพที่มีสภาพแวดล้อมแปลกตาและมีความโดดเด่นอย่างมากของยามค่ำ คืน มาฟังเคล็ดลับความรู้บางส่วนจากสมาชิก "Night View" สโมสรสำหรับผู้เชี่ยวชาญการถ่ายภาพกลางคืน

■บทความเหล่านี้นำเสนอโดย "www.nightview.co.kr"

การถ่ายภาพดาราศาสตร์

■บันทึกและถ่ายภาพโดย Jaehong Chung (ชื่อเล่น: pimpman)

แม้ การถ่ายภาพดาราศาสตร์เป็นการถ่ายภาพในแวดวงเฉพาะ แต่อาจถือเป็นส่วนย่อยของการถ่ายภาพกลางคืนได้ เนื่องจากภาพส่วนใหญ่ถ่ายตอนกลางคืน อย่างไรก็ตาม มีการถ่ายภาพดาราศาสตร์ตอนกลางวันเช่นเดียวกัน เช่น ภาพดวงอาทิตย์หรือดวงจันทร์บนท้องฟ้ายามเช้า เหนือสิ่งอื่นใด เทคนิคการถ่ายภาพดาราศาสตร์มี 2 ประเภทหลักคือ การใช้ขาตั้งกล้องแบบอยู่กับที่และการถ่ายภาพที่มีการนำทาง
พูดง่ายๆ ก็คือเทคนิคการถ่ายภาพที่มีการนำทางเกี่ยวข้องกับการถ่ายภาพหมู่ดาว กลุ่มก๊าซกลางหมู่ดาว ดาวเคราะห์ หรือวัตถุในห้วงอวกาศลึก ด้วยการติดตามวัตถุอย่างใกล้ชิดขณะใช้การถ่ายภาพแบบเปิดรับแสงยาวนาน วิธีนี้เรียกว่าวิธี piggyback หรือการใช้กล้องสองประเภทต่อพ่วงกัน แบบที่สอง สามารถใช้กล้องโทรทรรศน์และกล้องถ่ายรูปได้ (โฟกัสหลักหรือวิธีถ่ายภาพทางอ้อม) แบบสุดท้าย สามารถถ่ายภาพด้วยการใช้กล้องดูดาวอิเควทอเรียลหรือกล้องดูดาวแทนกล้องถ่าย รูปที่เราใช้กันอยู่ การถ่ายภาพแบบนำทางเป็นแวดวงการถ่ายภาพที่คนทั่วไปไม่คุ้นเคยนัก ดังนั้น ควรมุ่งเน้นที่การถ่ายภาพที่ใช้ขาตั้งกล้องแบบอยู่กับที่เท่านั้น
วิธี การถ่ายภาพแบบใช้ขาตั้งกล้องแบบอยู่กับที่เกี่ยวข้องกับการติดตั้งกล้องกับ ขาตั้งกล้องเพื่อถ่ายภาพวัตถุบนท้องฟ้า สำหรับเทคนิคการถ่ายภาพแบบใช้ขาตั้งกล้องแบบอยู่กับที่นี้ มีวิธีการโฟกัสแบบตายตัวและวิธีการเคลื่อนที่รายวันของวัตถุบนฟ้า เนื่องจากการหมุนของโลก เราจึงมองเห็นดาวลอยและเคลื่อนไหวบนท้องฟ้า เนื่องจากโลกหมุนเต็ม 360 องศาวันละรอบ จึงมีการเคลื่อนที่ 15 องศาต่อชั่วโมง ดังนั้น จากมุมมองของเรา เราจึงเห็นดาวเคลื่อนที่ในเวลากลางคืนชั่วโมงละ 15 องศาเช่นเดียวกันแต่ในทิศทางตรงกันข้าม วิธีการโฟกัสแบบตายตัวใช้การถ่ายภาพแบบเปิดรับแสงสั้นๆ ในการถ่ายภาพดาวที่ดูเหมือนจุดมากกว่ากระแสลำแสงที่ทิ้งหางแสงไว้เบื้องหลัง สามารถถ่ายภาพดาวและกลุ่มดาว และกระทั่งทางช้างเผือกในบางระดับโดยใช้วิธีนี้
สมมติว่าคุณกำลังใช้ กล้องขนาด 35 มม. กล้องที่ติดตั้งเลนส์มาตรฐานขนาด 50 มม. สามารถถ่ายภาพดาวที่หยุดนิ่งนาน 15 วินาที (มุมเยื้อง 0 องศา) ยิ่งใช้เลนส์กว้างเท่าใด มุมมองยิ่งกว้างขึ้นเท่านั้น ทำให้ต้องใช้เวลาในการเปิดรับแสงนาน ในทางกลับกัน เลนส์ถ่ายไกลมีประสิทธิภาพมากเท่าใด มุมมองยิ่งแคบลง ทำให้ใช้เวลาในการเปิดรับแสงสั้นลง
การถ่ายภาพดาวหางหรือดาวตกโดยใช้วิธี การเคลื่อนที่รายวันของวัตถุบนฟ้าอาจน่าสนใจมากขึ้นเช่นเดียวกัน เมื่อใช้วิธีนี้ ขอแนะนำให้รวมทิวทัศน์ เช่น อาคาร ภูเขา ฉากหลัง และอื่นๆ ไว้บนภาพของคุณด้วย แทนที่จะถ่ายแค่ดาวเท่านั้น ภาพที่ดียังขึ้นอยู่กับทิศทางของเส้นแสง ความเร็วของดาว และปัจจัยอื่นๆ ที่ต้องคำนึงถึง ดาวในซีกโลกเหนือหมุนทวนเข็มนาฬิกาจากตะวันออกไปทางตะวันตกโดยมีดาวเหนือ เป็นศูนย์กลาง ยิ่งหมุนเข้าหาดาวเหนือใกล้เท่าใด ยิ่งทำให้ดูเหมือนว่าดาวเหล่านั้นหมุนช้าลง และในทางกลับกัน ยิ่งอยู่ห่างจากศูนย์กลางเท่าใด ยิ่งดูเหมือนว่าดาวเหล่านั้นหมุนเร็วขึ้น ขณะที่คุณถ่ายภาพดาราศาสตร์ คุณยังสามารถเพลิดเพลินกับการเรียนรู้เกี่ยวกับกลุ่มดาวต่างๆ และชื่นชมท้องฟ้ายามราตรีไปพร้อมกัน การถ่ายภาพดาวหางหรือดาวตกโดยใช้วิธีการเคลื่อนที่รายวันของวัตถุบนฟ้าอาจ น่าสนใจมากขึ้นเช่นเดียวกัน
①วิธีการถ่ายภาพ: วิธีการเคลื่อนที่รายวันของวัตถุบนฟ้า
วันที่: 31 มกราคม 2008
สถานที่: Naksan Park in Seoul Daehakro
เวลา: 20.20 – 22.40 น.
(เวลาในการถ่ายภาพทั้งหมด: 2 ชั่วโมง 20 นาที)
เลนส์ที่ใช้: Pentax SMC DA FISHEYE 10-17
จำนวนภาพที่ถ่ายทั้งหมด: 254 ภาพโดยใช้ช่วงการเปิดรับแสง 30 วินาที (ใช้การซ้อนภาพของ Photoshop)
อุปกรณ์เสริม: ขาตั้งกล้องและเครื่องมือการบันทึกที่ผ่านมา

②วิธีการถ่ายภาพ: วิธีการเคลื่อนที่รายวันของวัตถุบนฟ้า
วันที่: 2 กุมภาพันธ์ 2008
สถานที่: ดาดฟ้า Koresco Condominium (สาขา Chiaksan) ใน Hoengseong-gun, Gangwon-do
เวลา: 21.17 – 23.23 น.(เวลาในการถ่ายภาพทั้งหมด: 2 ชั่วโมง 6 นาที)
เลนส์ที่ใช้: Pentax SMC DA FISHEYE 10-17
จำนวนภาพที่ถ่ายทั้งหมด: 228 ภาพโดยใช้ช่วงการเปิดรับแสง 30 วินาที (ใช้การซ้อนภาพของ Photoshop)
อุปกรณ์เสริม: ขาตั้งกล้องและเครื่องมือการบันทึกที่ผ่านมา
ภาพนี้แสดงให้เห็นการเคลื่อนที่ของสถานีอวกาศนานาชาติ (ISS).

③วิธีการถ่ายภาพ: วิธีการโฟกัสแบบตายตัว
วันที่: 05 พฤษภาคม 2008
สถานที่: Anmyondo, Taean
เลนส์ที่ใช้: Pentax SMC DA FISHEYE 10-17
อุปกรณ์เสริม: ขาตั้งกล้อง
ผมไม่เคยเห็นทางช้างเผือกสวยงามและมีรายละเอียดเท่านี้มาก่อน


ภาพ ถ่ายที่กล่าวถึงด้านบนถ่ายด้วยกล้องที่ใช้ฟิล์มขนาด 35 มม. และแน่นอน ภาพที่ได้อาจแตกต่าง ขึ้นอยู่กับประเภทเลนส์ ISO และปัจจัยอื่นๆ และอยู่ภายใต้สมมติฐานที่ว่า คุณกำลังถ่ายภาพในเทือกเขา ชนบท ชายหาด หรือทะเลทรายที่มลพิษแสงไม่รุนแรงเหมือนในเมือง
ในเมืองอย่างโซลที่มลพิษ แสงรุนแรง คุณสามารถใช้วิธีโฟกัสตายตัวได้ในบางระดับ อย่างไรก็ตาม การถ่ายภาพหมู่ดาวหรือทางช้างเผือกทำได้ยาก เหตุผลง่ายๆ คือมองเห็นดาวได้น้อยมาก การถ่ายภาพดวงจันทร์หรือดวงอาทิตย์สามารถทำได้ด้วยการใช้วิธีการเคลื่อนที่ รายวันของวัตถุบนฟ้าด้วยกล้องแบบใส่ฟิล์มธรรมดา กระนั้น การถ่ายภาพดาวโดยใช้วิธีนี้ค่อนข้างยาก เนื่องจากมลพิษแสงเหมือนเดิม
เมื่อ ใช้กล้องแบบใส่ฟิล์ม คุณจำเป็นต้องล้างและพิมพ์ (สแกน) ฟิล์ม สตูดิโอถ่ายภาพมักไม่พิมพ์หรือสแกนฟิล์ม โดยคิดว่าไม่มีอะไรอยู่ในฟิล์ม ดังนั้น เมื่อนำฟิล์มไปล้าง จึงควรบอกให้สตูดิโอเหล่านั้นรู้ล่วงหน้าว่าภาพเหล่านั้นเป็นภาพดาราศาสตร์
เมื่อ ใช้กล้องดิจิตอล (DSLR) คุณสามารถถ่ายภาพดาวจำนวนมากด้วยการใช้ช่วงที่เหมาะสม แล้วซ้อนภาพเหล่านั้นเป็นภาพเดียวเพื่อดูขบวนดวงดาวขบวนเล็กบ้างใหญ่บ้าง
ก่อน อื่นใช้เลนส์มุมกว้างเพื่อรวมดาวจำนวนมาก และพิจารณาองค์ประกอบของช่องมองภาพเพื่อสร้างความกลมกลืนกับฉากหลัง สำหรับค่ารูรับแสง ใช้ความเร็วชัตเตอร์ 30-60 วินาทีภายในช่วงที่ถูกต้องเพื่อป้องกันการเปิดรับแสงมากเกินไป จากนั้นคุณจะสามารถถ่ายภาพต่อเนื่องภายในระยะเวลาที่ต้องการ สำหรับการตั้งค่ากล้อง ใช้โหมดแบบกำหนดเองสำหรับโหมดภาพถ่าย, ใช้การปรับโฟกัสด้วยตนเอง (ไม่จำกัด) สำหรับการตั้งค่าโฟกัส, ตั้งค่าการลดเสียงแทรกเป็นปิด, เลือกความเร็ว ISO และสุดท้ายตั้งค่าสมดุลสีขาวตามที่คุณต้องการ จากนั้นคุณจะสามารถใช้ขาตั้งกล้องที่แข็งแรง และสายกดชัตเตอร์หรือเครื่องมือการบันทึกที่ผ่านมา คุณจะต้องมีแบตเตอรี่ที่ชาร์จเต็มแล้ว
ขั้นตอนต่อไปคือนำเข้าไฟล์ภาพที่ ถ่ายด้วยกล้องดิจิตอล (DSLR) เข้าสู่ Photoshop และดำเนินการซ้อนเลเยอร์ ก่อนอื่นเลือกภาพที่จะเป็นภาพหลัก ก่อนเปิดไฟล์ภาพทีละภาพในลำดับที่ถูกต้องและซ้อนภาพเหล่านั้นบนจุดเดียวกัน กับภาพหลัก เมื่อซ้อนภาพสองภาพ จะเกิดเลเยอร์หนึ่งบนเลเยอร์พาเลตต์ ดังนั้น คุณจะเห็นเป็นสองเลเยอร์ จากนั้นควรมีหน้าต่างสีขาวขนาดเล็กบนหน้าต่างเลเยอร์พาเลตต์ดังกล่าว ซึ่งเป็นหน้าต่างสำหรับโหมดผสมเลเยอร์ เพื่อให้คุณสามารถเลือกวิธีการผสมสำหรับทั้งเลเยอร์ชั้นบนและเลเยอร์ชั้น ล่าง เลือก “สว่าง” ซึ่งควรอยู่ตรงกลาง คุณสมบัติ “สว่าง” ช่วยเน้นบริเวณที่สว่างของเลเยอร์ เพื่อให้หางดาวไม่ถูกซ้อนแต่ปรากฏให้เห็นตามที่เป็น ขณะที่คุณซ้อนเลเยอร์ต่อด้วยวิธีนี้ หางดาวจะชัดเจนขึ้น และสุดท้ายจะปรากฏขึ้นในภาพๆ เดียว



เคล็ดลับการถ่ายภาพ: ระหว่างฤดูหนาว กล้องหรือเลนส์ของคุณอาจฝืดหรือเปียกน้ำค้าง คุณสามารถใช้แผ่นประคบร้อนเพื่อป้องกันน้ำค้างได้ในระดับหนึ่ง

เทศกาลแห่งราตรี - สีสันดอกไม้ไฟอันน่าหลงใหล

■บันทึกและถ่ายภาพโดย Jungdae Kim (ชื่อเล่น: danny)
อุปกรณ์ พื้นฐานสำหรับการถ่ายภาพดอกไม้ไฟคือกล้อง DSLR ที่ติดตั้งโหมด bulb, เลนส์ซูม, ขาตั้งกล้อง, สายกดชัตเตอร์ และกระดาษแข็งสีดำหรือหมวก เนื่องจากเราไม่รู้จุดที่ดอกไม้ไฟจะระเบิดที่แน่นอน จึงควรใช้เลนส์ซูมมุมกว้างแทนเลนส์หลักสำหรับองค์ประกอบในฉากที่ยืดหยุ่น เนื่องจากดอกไม้ไฟอาจมีขนาดใหญ่กว่าและระเบิดในจุดที่สูงกว่าที่คาดไว้ จึงต้องใช้เลนส์มุมกว้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อถ่ายภาพจากระยะใกล้ ใช้เลนส์ซูมเพื่อให้ได้มุมมองหรือองค์ประกอบภาพที่ต้องการ หลังจากที่ตัดสินใจเรื่องมุมแล้ว คุณสามารถเปลี่ยนเลนส์หลักเพื่อให้ได้ภาพที่ชัดเจนกว่า
ปกติแล้วดอกไม้ไฟ จะระเบิดหลังจากขึ้นสู่อากาศ 5 วินาที ดังนั้น คุณจึงสามารถถ่ายภาพดอกไม้ไฟที่สวยงามโดยใช้การตั้งค่ารูรับแสงที่ F8-F16 และความเร็ว ISO ที่ 100-200
หากต้องการถ่ายภาพดอกไม้ไฟจำนวนมาก ให้ตั้งกล้องเป็นโหมด bulb เปิดชัตเตอร์ และใช้กระดาษแข็งสีดำหรือหมวกครอบเลนส์ จากนั้นเปิดเลนส์เมื่อดอกไม้ไฟระเบิดเท่านั้น การทำเช่นนี้ซ้ำๆ จะทำให้คุณได้ดอกไม้ไฟจำนวนมากอยู่ในภาพๆ เดียว ควรหลีกเลี่ยงการใช้ฝาครอบเลนส์ เนื่องจากอาจทำให้กล้องไหวเล็กน้อยและฉากหลังสั่น การใช้สายกดชัตเตอร์เป็นสิ่งที่ต้องทำเช่นเดียวกันเมื่อใช้คุณสมบัติ bulb เพราะช่วยป้องกันไม่ให้กล้องไหว
การตั้งค่า AF (ออโต้โฟกัส) อาจไม่สามารถโฟกัสดอกไม้ไฟได้ ดังนั้น ควรใช้ MF (แมนนวลโฟกัส) สำหรับการตั้งค่าโฟกัสของกล้อง เนื่องจากจุดที่ดอกไม้ไฟระเบิดจะแตกต่างกันเล็กน้อยในบางครั้ง จึงแนะนำให้ใช้ค่ารูรับแสงเล็กลงสำหรับระยะชัดลึกที่ลึกขึ้นเมื่อคุณใช้แมน นวลโฟกัส คุณสามารถใช้โหมดอัตโนมัติสำหรับ WB (สมดุลสีขาว) แต่การใช้โหมดทังสเตนหรือแมนนวล WB หรือการตั้งค่า Kelvin (K) ด้วยตนเอง อาจให้ภาพที่ดียิ่งขึ้น ฉากหลังเป็นสีน้ำเงินเข้มขึ้น
เคล็ด ลับการถ่ายภาพ 1: คุณอาจได้ภาพดอกไม้ไฟที่ชัดเจนกว่าในช่วงแรกๆ เนื่องจากดอกไม้ไฟที่จุดหลังๆ มักปกคลุมด้วยควันที่ทำให้ถ่ายภาพได้ไม่ชัด
เคล็ด ลับการถ่ายภาพ 2: แทนที่จะถ่ายแค่ดอกไม้ไฟ คุณอาจได้ภาพที่ดียิ่งขึ้นด้วยการรวมภาพทิวทัศน์เมืองไว้ในฉากหลังด้วย ซึ่งทำได้ด้วยการตรวจสอบช่องรับแสงสำหรับทิวทัศน์เมืองเป็นอันดับแรก จากนั้นถ่ายภาพโดยใช้คุณสมบัติ bulb คุณอาจใช้กระดาษแข็งปิดเลนส์เมื่อเลนส์เปิดรับแสงเหมาะสม จากนั้นเปิดเลนส์เมื่อดอกไม้ไฟระเบิดเพื่อถ่ายภาพดอกไม้ไฟและทิวทัศน์เมือง

หัวใจสำคัญของการถ่ายภาพกลางคืน - ภาพอินเตอร์เชนจ์ (IC)

■บันทึกและถ่ายภาพโดย Jungdae Kim (ชื่อเล่น: danny)
ข้อ ดีของการถ่ายภาพ IC ตอนกลางคืนคือ หางของแสงไฟหน้ารถและแสงสีสวยสดงดงามของเมือง เพื่อรวมภาพ IC ทั้งหมดไว้ในเฟรมเดียว คุณจะต้องใช้เลนส์มุมกว้าง ในบางกรณี คุณอาจต้องใช้เลนส์ฟิชอาย แน่นอนว่า มุมมองและองค์ประกอบภาพจะแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับบริเวณที่คุณถ่ายภาพ ช่วงการถ่ายภาพมีความสำคัญเช่นเดียวกัน และช่างภาพจำนวนมากมักใช้เลนส์หลักมาตรฐาน เพื่อให้ได้ภาพที่งดงามพร้อมหางแสงสวยจากรถ คุณจำเป็นต้องใช้ความเร็วชัตเตอร์นานขึ้น ผลลัพธ์คือ คุณไม่จำเป็นต้องเพิ่มความไว แม้แต่สำหรับภาพกลางคืน และอาจตั้งค่า ISO ไว้ที่ 100 โดยประมาณ โดยทั่วไปแล้ว ความเร็วชัตเตอร์ต้องมากกว่า 15 วินาทีเพื่อให้ได้หางแสงที่เหมาะสม ดังนั้น จึงต้องตั้งค่ารูรับแสงอย่างเหมาะสมโดยพิจารณาจากความเร็วชัตเตอร์ บ่อยครั้งที่มีการถ่ายภาพโดยใช้การตั้งค่ารูรับแสงที่ F8- F16 ขึ้นไป หากจำเป็น สามารถเพิ่มความเร็วชัตเตอร์ได้เช่นกันด้วยการใช้ฟิลเตอร์ ND (neutral density) ผู้โปรดปรานการถ่ายภาพกลางคืนมักชอบที่จะถ่ายภาพระหว่าง "ชั่วโมงมหัศจรรย์" ซึ่งหมายถึงช่วง 30 นาทีก่อนและหลังพระอาทิตย์ตก ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่น่าหลงใหลอย่างแท้จริง เพราะคุณสามารถถ่ายทั้งภาพพระอาทิตย์กำลังตกดินและทิวทัศน์ยามค่ำ อย่างไรก็ตาม ภาพ IC ไม่จำเป็นต้องถ่ายระหว่างช่วงชั่วโมงมหัศจรรย์นี้ แม้คุณอาจได้สีสวยขึ้นจากการฉกฉวยข้อดีของชั่วโมงมหัศจรรย์ แต่ผมคิดว่า ช่วงเวลาหลังจากนั้นที่บรรยากาศมืดลงเหมาะสมกว่าเมื่อพิจารณาประเด็น IC เพียงอย่างเดียว: ฉากหลังที่มืดครึ้มกว่าจะเน้นแสงไฟหน้ารถสีขาวและหางแสงสีแดงของรถได้ชัด กว่า ผมชอบวิธีกดชัตเตอร์แค่ครึ่งเดียวโดยโฟกัสที่วัตถุโดยใช้ AF แล้วเปลี่ยนเป็น MF ถ้าทำได้ ให้ใช้สายกดชัตเตอร์และเลือกแมนนวล WB แทนออโต้ WB หรือตั้งค่า Kelvin (K) ด้วยตนเองซึ่งจะทำให้ได้ภาพที่มีฉากกลางคืนที่ชัดเจนและสวยงามยิ่งขึ้น เคล็ดลับการถ่ายภาพ 1: ตั้งค่า WB เป็นแมนนวลที่เส้นศูนย์กลางของ IC ที่รถวิ่งผ่านไปมา มีอุปกรณ์เสริมมากมายสำหรับการตั้งค่า WB โดยส่วนตัวแล้ว ผมใช้ “แผ่นสมดุลสีขาว” ในการตั้งค่า WB และใช้การถ่ายภาพ IC ตอนกลางคืนบ่อยที่สุด เคล็ดลับการถ่ายภาพ 2: สภาพแวดล้อมของภาพจะเปลี่ยนตามความเร็วชัตเตอร์ คุณจำเป็นต้องตัดสินใจว่าต้องการหางแสงรถยนต์ในภาพมากน้อยเพียงใด เวลาชัตเตอร์ที่นานพออาจทำให้ถนนเต็มไปด้วยแสงต่างๆ หรือคุณสามารถทำให้หางแสงดูสบายตาด้วยเส้นแสงไม่กี่เส้น การเปรียบเทียบภาพเหล่านั้นควรทำให้คุณรับรู้ลักษณะเฉพาะของแต่ละภาพ และทำให้คุณได้ความคิดบางอย่าง

จุดโฟกัสใหม่ของทิวทัศน์ในโซล - ทิวทัศน์ยามค่ำคืนของ Hangang

■บันทึกและถ่ายภาพโดย Yongmin Lee (ชื่อเล่น: mutro)
เรา มักรวมสะพานเมื่อถ่ายภาพทิวทัศน์ยามราตรีของ Hangang ไว้ในภาพด้วย คุณสามารถได้ภาพที่งดงามที่มีสีท้องฟ้าสมจริงด้วยการถ่ายภาพก่อนหรือหลังพระ อาทิตย์ตกทันที สิ่งที่มองเห็นได้ ซึ่งมีผลต่อการถ่ายภาพอย่างแท้จริง อาจแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ ดังนั้น คุณควรพิจารณาสภาพอากาศล่วงหน้า สภาพแวดล้อมตอนที่ผมถ่ายภาพนี้บ่งชี้ว่า ท้องฟ้าแจ่มใสเกินไป ซึ่งทำให้ความเร็วชัตเตอร์เร็วมาก แต่ยังไม่มากพอจับหางแสงของรถยนต์ที่ขับผ่าน Banghwa Bridge ผลลัพธ์คือ ผมชะลอความเร็วชัตเตอร์ลงจาก ISO ที่ 100 เป็น 50 เพื่อถ่ายหางแสงของรถยนต์ พร้อมทั้งใช้รูรับแสงเล็กลงที่ประมาณ F13 เพื่อรวมภูเขาที่มองเห็นอยู่ไกลๆ ไว้ในภาพด้วย การตั้งค่ากล้องเป็นโหมดเคลียร์ทำให้ผมสร้างสีในภาพให้เข้มขึ้นได้เช่นเดียว กัน

Banghwa Bridge

1. สถานที่: กลางหุบเขาที่มองเห็นส่วนเหนือสุดของ Banghwa Bridge

2. วันที่และเวลา: 16 กุมภาพันธ์ 2008 ประมาณ 18.30 น. ก่อนพระอาทิตย์ตกไม่นาน

3. ข้อมูลการตั้งค่า: 135 มม. การวัดแสง F2.0 : รูรับแสงจำนวนมาก: ความเร็วชัตเตอร์ F13: 10 วินาที ISO: 50 โหมด: เคลียร์
หาก คุณกำลังถ่ายภาพในช่วงเวลาระหว่างพระอาทิตย์ตกกับตอนกลางคืนที่มืดสนิท ควรใช้โหมดทังสเตนเนื่องจากบนท้องฟ้ายังมีสีฟ้าเหลืออยู่ การตั้งค่ากล้องสำหรับฉากกลางคืนที่ผมใช้มากที่สุดคือโหมดทังสเตน เพื่อให้ได้เอฟเฟ็กต์สีที่ชัดเจนและออกสีฟ้า การตั้งค่า Kelvin ด้วยตนเอง และ AWB (สมดุลสีขาวอัตโนมัติ) ที่ทำให้ได้สมดุลสีขาวที่เหมาะสมเนื่องจากกล้องมีประสิทธิภาพมากขึ้น เกี่ยวกับโฟกัส ผมโฟกัสที่จุดระหว่าง 1/3 ถึง 1/2 ซึ่งเป็นบริเวณ mid tone หรือบริเวณที่สว่างไม่มาก แต่สว่างพอที่จะมองเห็นวัตถุได้ (สำหรับวัตถุที่ไม่มีบริเวณ mid tone ผมจะโฟกัสที่จุดที่ครึ่งหนึ่งอยู่ในเงาและอีกครึ่งอยู่ในแสง) เมื่อมองผ่านช่องมองภาพ ด้วยวิธีนี้ ทำให้ผมเปิดรับแสงได้อย่างเหมาะสมโดยมีระยะชัดลึก และได้ภาพโดยรวมที่ชัดเจน

Sungsan Bridge

1. สถานที่: ริมน้ำด้านเหนือของ Sungsan Bridge

2. วันที่และเวลา: 8 มีนาคม 2008 ประมาณ 19.00 น. หลังพระอาทิตย์ตก

3. ข้อมูลการตั้งค่า: 50 มม. การวัดแสง F1.4: รูรับแสงจำนวนมาก: ความเร็วชัตเตอร์ F11: 8 วินาที ISO: 100 โหมด: ทังสเตน

การทำให้ดอกไม้สว่างสดใสด้วยแสง - ภาพถ่ายดอกซากุระบานยามราตรี

■บันทึกและถ่ายภาพโดย Heonguk Son (ชื่อเล่น: Sonddadadak~)
MF 50 มม. F1.4S / โหมดรับแสง: M / รูรับแสง: F8 / ความเร็วชัตเตอร์: 10 วินาที / ISO: 100 / สมดุลสีขาว: ค่า Kelvin 2780 / การถ่ายภาพไฟล์ RAW/ sRGB

ความยากในการถ่ายภาพดอกซากุระบานในยามค่ำคืนคือ วัตถุไม่อยู่นิ่ง แต่แกว่งเล็กน้อยเมื่อลมพัด ส่วนปลายของกิ่งจึงอาจเลือนเมื่อเทียบกับส่วนอื่นๆ ในภาพเมื่อคุณใช้การเปิดรับแสงนานขึ้น หมายความว่าคุณจำเป็นต้องเพิ่ม ISO หรือใช้รูรับแสงกว้างขึ้นสำหรับความเร็วชัตเตอร์ที่เร็วขึ้น
อย่างไรก็ ตาม เมื่อคุณพยายามทำให้ได้ภาพกิ่งดอกซากุระบานที่ชัดขึ้นตั้งแต่ต้นจนถึงปลาย กิ่ง คุณจำเป็นต้องตั้งค่ารูรับแสงเล็กสำหรับระยะชัดลึกที่ชัดขึ้น ผลลัพธ์คือ ความเร็วชัตเตอร์นานขึ้น แน่นอนว่าระยะชัดลึกจะลึกขึ้นเมื่อคุณใช้เลนส์มุมกว้างขึ้น ดังนั้น คุณจึงอาจได้ผลลัพธ์นี้โดยมีระยะชัดลึกลึกขึ้น แม้ในการตั้งค่ารูรับแสงต่ำลงก็ตาม ด้วยการใช้เลนส์มุมกว้างแทนเลนส์ภาพระยะไกล ค่ารูรับแสง ความเร็วชัตเตอร์ และการตั้งค่า ISO จะแตกต่างด้วยเช่นกัน ขึ้นอยู่กับสิ่งที่ช่างภาพโฟกัส โดยส่วนตัวแล้ว ผมใช้การตั้งค่า ISO ที่ 100 สำหรับคุณภาพภาพ, ค่ารูรับแสงที่ F8- 16 เพื่อให้ได้ระยะชัดลึกที่เหมาะสม และความเร็วชัตเตอร์ที่ 10-15 วินาที ยิ่งไปกว่านั้น คุณจำเป็นต้องอดทนรอวินาทีที่ไม่มีลมเพื่อให้กิ่งไม้นิ่ง เนื่องจากเปิดรับแสงนานมาก ระหว่างช่วงเทศกาลดอกซากุระบานในเกาหลีใต้ ดอกซากุระมักสว่างไสวด้วยแสงไฟที่ส่องถึงโดยตรง ดังนั้น คุณจึงจำเป็นต้องระวังว่าอาจได้ “ช่อง” สีขาวที่ไม่พึงประสงค์ในภาพเนื่องจากดอกไม้เปิดรับแสงมากเกินไป หากสีสันของแสงเปลี่ยน ควรถ่ายภาพหลายๆ ภาพเพื่อสร้างภาพที่มีเอฟเฟ็กต์และอารมณ์ต่างๆ
เมื่อใช้สมดุลสีขาว อัตโนมัติ คุณอาจได้ภาพที่น่าพอใจน้อยลง เนื่องจากสีของภาพต่างกันในแต่ละภาพแม้การตั้งค่าอื่นๆ เหมือนกันก็ตาม การตั้งค่า Kelvin ด้วยตนเองเพื่อตั้งค่าอุณหภูมิก่อนถ่ายภาพเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับคุณ
AAF 180 มม. F2.8D ED / โหมดรับแสง: M / รูรับแสง: 11 / ความเร็วชัตเตอร์: 15 วินาที / ISO: 100 /
สมดุลของสีขาว: ค่า Kelvin 2500 / การถ่ายภาพไฟล์ RAW / sRGB

ภาพที่ถ่ายภายในอาคารที่เรียงร้อยกัน - การเคลื่อนที่แบบเพนดูลัม

■บันทึกและถ่ายภาพโดย Heonguk Son (ชื่อเล่น: Sonddadadak)
MF 50 มม. F1.4S / โหมดรับแสง: M / รูรับแสง: 16 / ความเร็วชัตเตอร์: 246 วินาที / ISO: 100 /
สมดุลของสีขาว: ค่า Kelvin 3130 / การถ่ายภาพไฟล์ RAW / sRGB

การ ถ่ายภาพเรขาคณิตของการไหลของไฟโดยใช้การเคลื่อนที่แบบเพนดูลัมอาจน่าสนใจมาก ก่อนอื่นคุณต้องใช้สายคล้องและแฟลชขนาดเล็ก (ควรใช้แสงขนาดเล็กจากหลอดไฟหลอดเดียว เนื่องจากแสงมีบทบาทสำคัญต่อน้ำหนัก) กล้อง ขาตั้งกล้อง และสายกดชัตเตอร์ ขั้นตอนแรกคือ ผูกสายคล้องขนาด 1-1.5 ม. ที่ปลายแฟลช แล้วผูกปลายอีกด้านของสายกับเพดาน จัดขาตั้งกล้องให้ต่ำที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ จากนั้นตั้งมุมกล้องโดยเล็งเลนส์กล้องไปที่เพดาน คุณควรตรวจสอบให้แน่ใจว่า มุมกล้องเหมาะสมด้วยการเช็คจากช่องมองภาพ ปรับมุมกล้องถ้าจำเป็น ลองหาน้ำหนักแสงที่จุดศูนย์กลางของช่องมองภาพ และตั้งโฟกัสที่ด้านปลายของน้ำหนัก จากนั้นตั้งกล้องเป็น MF ตั้งความเร็วชัตเตอร์เป็นโหมด bulb (B) โปรดทราบว่า ยิ่งคุณเปิดรูรับแสงมากเท่าใด เส้นแสงยิ่งหนาขึ้น และในทางกลับกัน ยิ่งรูรับแสงเล็กเพียงใด เส้นแสงในภาพยิ่งบางลง ผมแนะนำให้ปรับให้เส้นแสงบางมากๆ โดยใช้การตั้งค่ารูรับแสงขนาดเล็ก เนื่องจากระยะห่างระหว่างเส้นแสงจะแคบลงเมื่อน้ำหนักของแสงเคลื่อนเข้าหา ศูนย์กลาง ถ่ายภาพเป็นไฟล์ RAW แล้วเปลี่ยนสีของแสงโดยใช้โปรแกรมการแก้ไขไฟล์ RAW เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดียิ่งขึ้น ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับรูปแบบ
AF-S 17-35 มม. F2.8D ED / โหมดรับแสง: M / รูรับแสง: 16 / ความเร็วชัตเตอร์: 340 วินาที / ISO: 100 / สมดุลสีขาว: ค่า Kelvin 3130 / การถ่ายภาพไฟล์ RAW / sRGB

หลังจากต่อสายกดชัตเตอร์ ให้ปิดแสงทั้งหมดเพื่อให้บรรยากาศมืดสนิท แล้วเปิดแฟลช (น้ำหนักแสง) หากคุณแค่ดึงน้ำหนักแสงและปล่อย คุณจะได้การเคลื่อนที่เชิงเส้น แทนที่จะทำแบบนั้น คุณควรลองสร้างวงกลมด้วยการกดน้ำหนักเบาๆ ไปที่ด้านหนึ่งเพื่อทำให้รูปทรงปรากฏที่ภาพด้านบน หลังจากได้วงกลมขนาดที่ต้องการ กดสายกดชัตเตอร์เพื่อเริ่มถ่ายภาพ เมื่อตั้งค่ารูรับแสงไว้ที่ 16 ควรตั้งค่าช่องรับแสงไว้ที่ราว 3-6 นาที และคุณควรตัดสินใจตั้งค่าช่องรับแสงอย่างเหมาะสมด้วยการดูการเคลื่อนที่แบบ เพนดูลัมของน้ำหนักแสง โปรดทราบว่าคุณอาจต้องพยายามหลายครั้งโดยได้ผลไม่เป็นที่น่าพอใจก่อนที่จะ ได้ภาพที่สวยงาม แต่จงพยายามต่อไปและคุณจะประสบความสำเร็จ

หางแสงที่เคลื่อนผ่านความเงียบของราตรีกาล

■บันทึกและถ่ายภาพโดย Minseok Son (ชื่อเล่น: hooligan)
เรื่อง: ตำแหน่งเส้นแสง: Jianjae, Hamyang-gun ISO100, F8, 30 วินาที


การ ถ่ายภาพหางแสงที่เกิดจากรถยนต์ที่วิ่งไปมาถนนเลียบชายเขาโดยไม่มีไฟที่แต่ง ขึ้น คือหัวใจสำคัญของการถ่ายภาพกลางคืน โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าถนนมีโค้งหักศอกหรือทางลาดลงจากเขา หางแสงในภาพถ่ายกลางคืนจะมีคุณภาพที่มีพลวัตรอย่างมากแบบที่พบเห็นไม่ได้ บ่อยนักในภาพถ่ายกลางคืนอื่นๆ โดยทั่วไปรถที่วิ่งบนถนนเลียบเขาที่มืดมิดมักขับช้า เนื่องจาก DSLR AV สนับสนุนความเร็วชัตเตอร์สูงสุด และโหมดทีวีและโหมด M มีความเร็วเพียง 30 วินาทีเท่านั้น ดังนั้น คุณสมบัติ bulb และสายกดชัตเตอร์ต้องรักษาความเร็วชัตเตอร์ที่ไม่เกิน 30 วินาทีซึ่งจำเป็นเพื่อให้ได้หางแสงทั้งหมด เกี่ยวกับการเลือกเลนส์นั้น เลนส์มุมกว้างเหมาะสมกว่าเลนส์ภาพระยะไกลในการให้หางแสงที่สมบูรณ์แทนที่จะ ได้แค่หางบางส่วน โปรดทราบว่าเลนส์ที่กว้างมากคือ ต่ำกว่า 20 มม. จะทำให้หางแสงบนภาพกว้างและชัดเจนขึ้น สำหรับการตั้งค่าสมดุลสีขาว ควรเลือกโหมดฟลูออเรสเซนต์หรือทังสเตนจะดีที่สุด ความต่างที่ชัดเจนของหางแสงสีขาวกับท้องฟ้ายามค่ำคืนที่มืดมิดจะดึงดูดสายตา คนดูตั้งแต่แรกเห็น นอกจากนี้โปรดทราบว่า สีของหางแสงจะขาวขึ้นเมื่ออุณหภูมิของสีลดลง และลองตั้งค่า WB เป็นโหมดฟลูออเรสเซนต์หรือโหมดทังสเตน คุณยังจะสังเกตเห็นผลลัพธ์ที่แตกต่างที่เกิดขึ้น และลองใช้อุณหภูมิสีในระดับต่างๆ ได้ด้วย เกี่ยวกับช่องรับแสง ควรเปิดรับแสงเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ในบางกรณี คุณอาจจำเป็นต้องเน้นหางแสงด้วยการทำให้ฉากหลังมืดลงเพื่อดึงคุณภาพที่มีพล วัตรของการเคลื่อนที่ของรถภายใต้ท้องฟ้ามืดมิดออกมา ดังนั้น คุณจึงจำเป็นต้องหาความรู้เกี่ยวกับการเลือกหางแสงโดยเปรียบเทียบกับฉากหลัง ด้วยการใช้การชดเชยแสงที่ 1-2 เพื่อไม่ให้ภาพมืดลง แทนที่จะใช้ค่าการรับแสงที่ดีที่สุด เมื่อพิจารณาถึงลักษณะการถ่ายภาพ ผมแนะนำให้ออกไปถ่ายภาพกับเพื่อน 2-3 คน แทนที่จะออกไปตามลำพัง การมองหารถที่ขับไปตามถนนเลียบเขาตอนกลางคืนอาจเป็นได้ยาก ดังนั้น คุณจึงอาจจำเป็นต้องขับรถเองเพื่อถ่ายภาพแทนที่จะรอรถผ่านมาให้ถ่าย ถ้าคุณมีเพื่อน 1 หรือ 2 คนที่จะกดสายกดชัตเตอร์แทนขณะที่คุณขับรถจะวิเศษมาก ตรวจสอบให้แน่ใจว่าเช็คเส้นทางการเคลื่อนที่และองค์ประกอบของภาพล่วงหน้า การค้นหาองค์ประกอบภาพที่สมบูรณ์แบบในสภาพแวดล้อมที่มืดมิดโดยใช้เพียงความ รู้สึกของคุณไม่ใช่งานที่ง่ายดายเลย ผมแนะนำให้ลองไปที่สถานที่นั้นก่อนพระอาทิตย์ตกเพื่อตรวจสอบเส้นทางการ เคลื่อนที่ที่เป็นไปได้ และพิจารณาวิธีการและที่ที่จะถ่ายภาพที่อาจมีหางแสงล่วงหน้า
เรื่อง: ดื่มด่ำกับสถานที่เงียบสงบ: มอเตอร์เวย์ท้องถิ่นระหว่าง Nonsan กับ Wanju
ISO100, F8, 221 วินาที

สุดยอดวิวเมือง - อาคารยามราตรี

■บันทึกและถ่ายภาพโดย Yui-jeong Choi (ชื่อเล่น: hongdangmu)
โหมด M / ISO: 100 / F8 6s / สมดุลสีขาว: การตั้งค่า Kelvin / ถ่ายภาพในรูปแบบ sRGB jpeg / การชดเชย: 8211 / ปรับภาพให้คมชัดและปรับสมดุลสีด้วย Photoshop

หนึ่งในข้อดีของการถ่ายภาพกลางคืนคือ การได้ถ่ายภาพแสงสีอันน่าหลงใหลของเมือง หากสภาพอากาศเหมาะสม คุณสามารถมองเห็นแม้กระทั่งก้อนเมฆลอยผ่านเหนือตัวเมืองที่สว่างไสว คุณอาจรู้สึกเหมือนว่าคุณสามารถถ่ายภาพทุกอย่าง รวมถึงเมืองยามค่ำคืน แม่น้ำที่อยู่ใกล้ๆ และถนนที่มีแสงไฟขวักไขว่ อย่างไรก็ตาม แม้ในสภาพอากาศที่เลวร้าย คุณไม่ควรออกจากบ้านโดยไม่มีกล้องและขาตั้งกล้องติดไปด้วย เตรียมพร้อมไว้จะดีกว่าผิดหวังเมื่อคุณพบโอกาสรออยู่ตรงหน้า อาจฟังดูไม่ง่ายในการถ่ายภาพอาคารในโซลให้ออกมาสวยงามในยามค่ำคืน แม้คุณสามารถปีนขึ้นไปบนภูเขาที่อยู่ใกล้ๆ ในเมืองได้ แต่ยังมีบางโอกาสที่คุณอาจจำเป็นต้องขึ้นไปบนดาดฟ้าของอาคารสูงเพื่อค้นหา วัตถุที่ยังค้นไม่พบ และสร้างองค์ประกอบภาพที่น่าสนใจและไม่ซ้ำใคร อย่างไรก็ตาม คุณควรขึ้นไปบนดาดฟ้าหลังจากได้รับอนุญาตอย่างเหมาะสมจากผู้จัดการอาคารแล้ว เท่านั้น ปกติแล้วคุณควรใช้ ISO ต่ำที่สุดในการถ่ายภาพ โดยตั้งค่ารูรับแสงที่ F8-13 เมื่อถ่ายภาพอาคารที่มีแสงสว่างไสว คุณควรตั้งความเร็วชัตเตอร์จาก 2-6 วินาทีถึง 8-13 วินาที เพื่อป้องกันไม่ให้กล้องเคลื่อนที่ ให้ใช้สายกดชัตเตอร์ทุกครั้ง รวมทั้งการตั้งค่าล็อคกระจกเพื่อป้องกันไม่ให้กระจกสั่น ผมใช้โหมดเคลียร์บนกล้องเพื่อให้ได้เอฟเฟ็กต์ที่สะอาดและแสงสมจริง ผมยังใช้เลนส์ฟิชอายกับมุมมองแบบสุดโต่งบ่อยๆ เพราะให้ลักษณะและเอฟเฟ็กต์ที่พิเศษไม่เหมือนใครจริงๆ เมื่อวัตถุที่ผมต้องการถ่ายภาพอยู่ใกล้เกินไปและผมไม่สามารถขยับถอยหลังได้ อีก นั่นคือเวลาที่ต้องใช้เลนส์ฟิชอายถ่ายภาพวัตถุที่ต้องการโดยที่ไม่ต้องแลก เปลี่ยนกับอะไรเลย ผมพบว่าวิธีนี้น่าพอใจมาก บางคนหลีกเลี่ยงเลนส์นี้เพราะอาจมีความผิดเพี้ยน แต่ผมชอบเอฟเฟ็กต์ที่น่าสนใจมากกว่า ข้อดีอย่างหนึ่งคือ ช่วยให้สามารถกำหนดค่าวัตถุที่ไม่สามารถถ่ายภาพได้ใหม่โดยใช้เลนส์ที่นอก เหนือจากฟิชอาย ดังที่แสดงในภาพด้านบน อาคารสูงหรือวัตถุจำนวนมากสามารถรวมอยู่ในภาพเดียวทั้งหมด ซึ่งเป็นข้อดีอีกข้อหนึ่งของเลนส์นี้ เมื่อคุณถ่ายภาพอาคารที่มีแสงสว่างไสว ไม่จำเป็นต้องใช้การเปิดรับแสงนาน เนื่องจากสภาพแวดล้อมมืดสนิทตอนที่ผมถ่ายภาพ ผมจึงใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำลงเพื่อให้ท้องฟ้ากระจ่างยิ่งขึ้น4



ที่มา: canon-asia.com
 
สั่งอัดรูปออนไลน์ / Digital Offset Print / Photo Gift / Photo Book
ได้ที่
www.masterphotonetwork.com


ติดตามข่าวสารและกิจกรรมดีๆ จากมาสเตอร์ได้ที่
Facebook : Master Photo Network   
คำคมที่ใช้ในการถ่ายภาพ , Photo Book, ภาพตลก, ภาพ สวยๆ, ภาพข่าว, ภาพถ่าย, ร้านมาสเตอร์,

เทคนิคการถ่ายภาพยามค่ำคืนโดยใช้ภาพ Live View ที่ชัดใสและให้ความเพลิดเพลิน

เทคนิคการถ่ายภาพยามค่ำคืนโดยใช้ภาพ Live View ที่ชัดใสและให้ความเพลิดเพลิน

ใน การถ่ายภาพเวลากลางคืน แม้ว่าขาตั้งกล้องเป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับการป้องกันกล้องสั่นไหว แต่ขณะเดียวกัน การแน่ใจว่ากล้องจับโฟกัสอย่างเหมาะสมก็เป็นสิ่งสำคัญ เมื่อใช้เลนส์เดี่ยวสว่างๆ ที่มีค่ารูรับแสงน้อย ควบคู่กับฟังก์ชั่น Live View การถ่ายภาพกลางคืนให้มีโฟกัสคมชัดจะกลายเป็นเรื่องง่ายดายไปในทันที ในส่วนต่อไปนี้ ผมจะอธิบายถึงเทคนิคต่างๆ เพื่อให้ได้โฟกัสที่แม่นยำโดยการใช้ภาพขยาย ซึ่งเป็นฟังก์ชั่นที่ขาดไม่ได้ในการถ่ายภาพกลางคืน (เรื่องโดย: Ryosuke Takahashi)
EOS 5D Mark II/ EF35mm f/2/ Aperture-priority AE (f/8.0, 13 วินาที)/ ค่าชดเชยแสง: -1.0EV/ ISO 100/ WB: อัตโนมัติ

มุมรับภาพและมุมมองเปอร์สเปคทีฟระดับปานกลางของทางยาวโฟกัส 35 มม. เหมาะสำหรับการถ่ายภาพยามค่ำคืน

ผม ถ่ายภาพกลุ่มตึกสูงที่อยู่ตรงกับสระน้ำให้อยู่ในโฟกัสที่คมชัดด้วยเลนส์ EF35mm f/2 ภาพนี้ ผมเลือกใช้ฟังก์ชั่น Live View ในโหมดแมนนวลโฟกัส (MF) เมื่อมั่นใจในโฟกัสที่แม่นยำ ก็ทำให้สามารถดึงเอากำลังในการแยกรายละเอียดของเซนเซอร์ภาพแสดงออกมาอย่าง เต็มที่ได้ ทางยาวโฟกัสของเลนส์ขนาด 35 มม. เหมาะอย่างยิ่งสำหรับการถ่ายภาพทั้งสแนปช็อตและภาพยามค่ำคืน เพราะเป็นเลนส์ที่ให้ภาพมุมกว้างและมุมมองเปอร์สเป็คทีฟในระดับปานกลาง เอื้อให้จัดองค์ประกอบภาพได้ง่าย นอกจากนี้ การใช้เลนส์ EF35mm f/2 IS USM รุ่นถัดจาก EF35mm f/2 ของ Canon ซึ่งมีชิ้นเลนส์แก้ความคลาดทรงกลม ทำให้คุณเพลิดเพลินกับการถ่ายทอดภาพด้วยคุณภาพสูงได้มากยิ่งขึ้น

จับโฟกัสอย่างแม่นยำโดยใช้ฟังก์ชั่น Live View

ขั้นตอนที่ 1: ติดตั้งกล้องเข้ากับขาตั้งกล้องให้แน่น

ติด ตั้งกล้องเข้ากับขาตั้งกล้องให้แน่น เพื่อให้แน่ใจว่าจะได้โฟกัสที่แม่นยำกว่า และดึงเอาศักยภาพของเซนเซอร์ภาพในการแยกรายละเอียดออกมาได้อย่างเต็มเปี่ยม สำหรับการถ่ายภาพยามค่ำคืนด้วยความไวแสง ISO ต่ำๆ นั้น การถ่ายโดยไม่ใช้ขาตั้งอาจเป็นวิธีที่ท้าทายอย่างมาก ไม่ว่าเลนส์จะสว่างเพียงใด ดังนั้น เพื่อป้องกันไม่ให้กำลังในการแยกรายละเอียดถูกลดทอนลงเนื่องจากกล้องสั่นไหว ให้คุณเลือกใช้ขาตั้งกล้องที่มีความมั่นคง

ขั้นตอนที่ 2: ปรับสวิตช์โหมดการโฟกัสของเลนส์มาที่ MF

ปรับ สวิตช์โหมดโฟกัสบนตัวเลนส์มาที่ตำแหน่ง MF (สำหรับเลนส์ EF-M ซึ่งออกแบบมาเพื่อใช้กับกล้อง EOS M ให้ใช้หน้าจอเมนูบนตัวกล้อง) วิธีที่แน่นอนที่สุดที่จะได้โฟกัสคมชัดขณะถ่ายภาพกลางคืน คือ การใช้ฟังก์ชั่น Live View ควบคู่กับโหมด MF ในกรณีที่กล้องที่คุณใช้รองรับการถ่ายภาพ Live View เมื่อทำเช่นนี้ ความแม่นยำในการโฟกัสจะสูงมาก เนื่องจากกล้องจะจับโฟกัสขณะที่ภาพซึ่งฉายลงบนพื้นผิวเซนเซอร์ภาพถูกขยาย ใหญ่ขึ้นบนหน้าจอ LCD ด้านหลัง ข้อดีอีกอย่างหนึ่งจากหลายๆ ข้อ ก็คือ คุณสามารถปรับเปลี่ยนโฟกัสไปยังจุดใดของภาพก็ได้

ขั้นตอนที่ 3: เริ่มใช้ฟังก์ชั่น Live View

สำหรับ กล้อง EOS 5D Mark III ปุ่มการถ่ายภาพแบบ Live View จะอยู่ที่ด้านล่างซ้ายของช่องมองภาพบริเวณด้านหลังตัวกล้อง กดปุ่มนี้เพื่อเริ่มต้นการถ่ายภาพแบบ Live View ระหว่างการถ่ายภาพแบบ Live View กระจกในตัวกล้องจะดีดขึ้นตลอดเวลา (ยกเว้นในโหมด Quick AF) จึงมีการกระตุกของกระจกเล็กน้อยเมื่อคุณปล่อยชัตเตอร์ นี่เป็นอีกวิธีหนึ่งที่เหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับการถ่ายภาพยามค่ำคืนที่มีความ เร็วชัตเตอร์ต่ำ ซึ่งมีแนวโน้มที่กล้องจะสั่นไหว

ขั้นตอนที่ 4: ปรับระดับการตั้งกล้องด้วยการแสดงเส้นตาราง

แสดง เส้นตารางบนหน้าจอในเมนูฟังก์ชั่น Live View แล้วจัดองค์ประกอบภาพไปพร้อมๆ กับปรับระดับการตั้งกล้อง คุณสามารถทำได้โดยดูจากเส้นตรงของภาพตึกอาคาร และทาบเส้นตารางเป็นแนวเดียวกับเส้นดังกล่าว นอกจากนี้ ควรตรวจดูภาพอีกครั้งเพื่อหลีกเลี่ยงพื้นที่เงามืดหรือวัตถุที่ไม่ต้องการ ที่อาจอยู่ในองค์ประกอบภาพ

ขั้นตอนที่ 5: ขยายภาพที่แสดงเพื่อการโฟกัสที่แม่นยำ

ระหว่าง จัดองค์ประกอบภาพ คุณสามารถเลื่อนกรอบภาพขยายและขยายจุดใดๆ บนภาพได้ โดยกดปุ่มขยายซึ่งอยู่ทางด้านบนขวาด้านหลังตัวกล้อง การขยายภาพเช่นนี้ช่วยให้คุณจับโฟกัสได้แม่นยำกว่า การโฟกัสไม่มีขั้นตอนตายตัว แต่วิธีที่ง่ายคงเป็นการเลือกจุดที่ต้องการโฟกัสด้วยการขยาย 5 เท่า หรือใช้การโฟกัสที่แม่นยำยิ่งขึ้นด้วยการขยายถึง 10 เท่า เมื่อใช้คู่กับเลนส์ที่สว่างซึ่งมีค่ารูรับแสงน้อย ภาพ Live View จะดูชัดใสและเมื่อคุณขยายภาพที่แสดง ก็จะเห็นจุดรบกวนเพียงเล็กน้อย ช่วยให้การโฟกัสง่ายขึ้น

ขั้นตอนที่ 6: ป้องกันปัญหาจากอาการกล้องสั่นด้วยการตั้งเวลา 2 วินาที

หลัง จากทำการโฟกัสเสร็จแล้ว เลือกตั้งเวลา 2 วินาทีในโหมดขับเคลื่อน ในการตั้งค่านี้ กล้องจะลั่นชัตเตอร์เองภายใน 2 วินาทีหลังจากกดปุ่มชัตเตอร์ ช่วยลดอาการกล้องสั่นจากการกดปุ่มชัตเตอร์อย่างได้ผล การป้องกันอีกหนึ่งวิธี คือ การกดปุ่มชัตเตอร์ด้วยรีโมตคอนโทรล




ที่มา: canon-asia.com
 
สั่งอัดรูปออนไลน์ / Digital Offset Print / Photo Gift / Photo Book
ได้ที่
www.masterphotonetwork.com


ติดตามข่าวสารและกิจกรรมดีๆ จากมาสเตอร์ได้ที่
Facebook : Master Photo Network   
คำคมที่ใช้ในการถ่ายภาพ , Photo Book, ภาพตลก, ภาพ สวยๆ, ภาพข่าว, ภาพถ่าย, ร้านมาสเตอร์,

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
"มาสเตอร์" เรามีประสบการณ์ด้านการอัดภาพมายาวนานกว่า 40 ปี โดยเราเป็นรายแรกในประเทศไทยที่ลงเครื่องอัดภาพระบบต่อเนื่อง ซึ่งเป็นจุดกำเนิดของคำว่า "รอรับได้ทันที" ที่ใช้กันแพร่หลายในปัจจุบัน "มาสเตอร์" เป็นรายแรกที่บุกเบิกการอัดภาพระบบดิจิตอลอย่างเป็นระบบและครบวงจร เป็นผู้สร้างมาตรฐานรูปแบบการอัดต่างๆ ในการสั่งอัดรูปดิจิตอล นอกจากนี้ “มาสเตอร์” ยังเป็นผู้สร้างสรรค์งานออกแบบและงานผลิตสิ่งพิมพ์คุณภาพทุกชนิด "มาสเตอร์" เล็งเห็นถึงความสำคัญของการใช้อินเตอร์เน็ตและประโยชน์ที่ลูกค้าได้รับ เว็บไซต์ www.MasterPhotoNetwork.com จึงถูกก่อตั้งขี้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2548 และเปิดให้ลูกค้าสามารถอัพโหลดและสั่งอัดภาพผ่านทางหน้าเวปไซต์ในปี พ.ศ.2551 เป็นต้นมา ปัจจุบันมีลูกค้าใช้บริการผ่านระบบออนไลน์ของเราจากทุกภาคทั่วประเทศ เรามีระบบการจัดส่งที่หลากหลายเพื่อความสะดวกสบายของลูกค้า และด้วยพนักงานที่จะคอยดูแลท่านพร้อมเครื่องอัดภาพที่ทันสมัยที่สุด เราสามารถรองรับงานได้ทุกรูปแบบ ลูกค้าจึงมั่นใจได้ว่างานที่ออกไปจากเราจะมีคุณภาพที่เป็นมาตรฐานและส่งตรงถึงมือลูกค้าอย่างแน่นอน