วันอังคารที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

การถ่ายภาพสีให้ดีเด่น

           ปัจจุบันนี้กล้องถ่ายภาพระบบดิจิตอลถูกนำมาใช้งานแทนกล้องถ่ายภาพที่ใช้ ฟิล์มเกือบจะทั้งหมดแล้วไม่ว่าจะถ่ายเป็น ภาพสี หรือภาพขาวดำ กล้องถ่ายภาพระบบดิจิตอลสามารถสนองตอบความต้องการของผู้ถ่ายภาพได้ทุกอย่าง โดยไม่ต้อง เปลี่ยนฟิล์มหรือใช้กล้องหลายตัวให้ยุ่งยาก

           ภาพถ่ายสีในยุคนี้จึงเป็นภาพสีจากกล้องดิจิตอลแทบทั้งสิ้น ซึ่งนอกจากจะถ่ายง่าย ลบง่าย ยังสามารถนำไปตกแต่งสี แก้ไขสี เติมสีให้แก่ภาพได้ไม่ยากอีกด้วย จริงอยู่ที่วิธีการถ่ายภาพสีไม่แตกต่างอะไรจากการถ่ายภาพขาวดำ แต่การถ่ายภาพ สีต้องใช้ความระมัดระวังในการจัดสีให้ละเอียดละออยิ่งกว่าภาพขาวดำ


  1. ถ้าพูดถึงเรื่องฟิล์มสีที่ยังมีผู้คนบางส่วนใช้กันอยู่ ฟิล์มสีมีความยืดหยุ่นของการรับแสงน้อยกว่าฟิล์มขาวดำ หมายความว่าการให้แสงผิดในการาถ่ายภาพด้วยฟิล์มสีไม่ว่าจะผิดไปทางโอเวอร์ หรืออันเดอร์ไม่ควรมากหรือน้อย เกินกว่า 1 สะต๊อป ซึ่งฟิล์มขาวดำสามารถทำผิดได้มากกว่านั้น
  2. ฟิล์มสีมีหลายชนิด ต้องเลือกอุณหภูมิของแสงให้เหมาะกับฟิล์มชนิดนั้นๆ เมื่อถ่ายด้วยแสงแดดก็ควรใช้ฟิล์ม ประเภทเดย์ไลท์ (แสงกลางวัน) ถ่ายด้วยแสงไฟกลางคืนก็ควรใช้ฟิล์มทังสเตน (แสงไฟหลอดไส้)
  3. ฟิล์มสีจะแสดงออกในภาพด้วยสีสันต่างๆ จึงผิดแผกไปจากฟิล์มขาวดำที่มีเพียงสีขาวกับดำ หากภาพสีมีสี ปะปนกันมากมายหลายสี ความเลอะเทอะของภาพสีจะเห็นได้ชัดเจนกว่าภาพขาวดำ


            ในภาพขาวดำนั้นการทำให้จุดสนใจมีความเด่นขึ้นมาก็เพียงวางจุดสนใจให้มี ความเข้มหรือความอ่อนแตกต่างกับ ฉากหลังเท่านั้น เช่นในกรณีที่จุดสนใจมีสีเข้ม เราก็หาฉากหลังสีอ่อนกว่ามาประกอบ ในทางตรงกันข้ามถ้าจุดสนใจมีสีอ่อน เราก็หาฉากหลังสีเข้มกว่ามารองรับเพื่อเน้นให้จุดสนใจดูสวยเด่นขึ้น และถ้าหากจุดสนใจมีทั้งสีอ่อนและสีเข้มปะปนกัน เรา ก็หาฉากหลังสีเทาซึ่งเป็นสีกลางมารองรับ จุดสนใจของเราก็จะดูเด่นน่าประทับใจ
           แต่การถ่ายภาพสีที่แสดงออกด้วยสีสัน ต่างๆ นั้น หากจะว่ากันตามหลักของการถ่ายภาพสีแล้วล่ะก็ เราต้องใช้สีที่ไม่ เหมือนกันมารองรับ แต่จะรองรับอย่างไ รจึงจะ ได้ภาพสวยเป็นเรื่องที่จะต้องทำให้ถูกต้องด้วยความละเอียดรอบคอบ จากวง สีหรือสีรุ้ง เราจะเห็นว่ามีอยู่ด้วยกัน 7 สี ซึ่ง แตกต่างจากภาพขาวดำที่มีเพียงสีดำ สีเทา และสีขาวเท่านั้น
           สีรุ้งทั้ง 7 สีดังกล่าว ได้แก่ สีแดง สีส้ม สีเหลือง สีเขียว สีฟ้า สีน้ำเงิน และสีม่วง ทั้ง 7 สีนี้ ส่วนที่เป็นแม่สีหลักก็คือ สีแดง สีน้ำเงิน และสีเขียว ที่อาจจะแบ่งออกได้เป็น 2 ฝ่ายคือฝ่ายสีแดง และฝ่ายสีน้ำเงิน (เหมือนกับสีกีฬามวย) โดยมีสี แดง สีส้ม และสีเหลือง เข้าไปอยู่ในฝ่ายสีแดง ซึ่งตามภาษาของสีเรียกว่า “สีอุ่น” ส่วนสีฟ้า สีน้ำเงิน และสีม่วง จัดให้ขึ้นอยู่ กับฝ่ายน้ำเงิน เรียกว่า “สีเย็น” ยังขาดก็แต่สีเขียวที่ถูกจัดให้เป็นสีกลาง เข้าได้กับทั้งสีอุ่นและสีเย็น เพราะสีเขียวมีอุณหภูมิ ของสีใกล้เคียงกับสีเทาที่เป็นสีมาตรฐานในการวัดแสงของกล้องถ่ายภาพทั่วไป
           เมื่อเราเห็นไฟจะรู้สึกว่าร้อน เห็นดวงอาทิตย์รู้สึกอุ่น ดังนั้นเมื่อเราเห็นสีแดง สีส้ม และสีเหลือง ความรู้สึกในด้าน จิตใจจะเกิดความอบอุ่น ความตื่นเต้น ก้าวหน้า ทะเยอทะยาน ครั้นเมื่อเห็นน้ำจะรู้สึกเยือกเย็น เห็นป่าไม้สีเขียวก็รู้สึกสดชื่น เห็นน้ำทะเลสีน้ำเงินจะรู้สึกสงบและเดียวดาย ดังนั้นเมื่อเราพบเห็นสีน้ำเงิน สีฟ้า และสีเขียว ความรู้สึกในด้านจิตใจจะเกิด ความสุขุม เยือกเย็น และหดหู่
            อิทธิพลของสีที่สามารถกระทบกระเทือนจิตประสาทของเราได้เช่นนี้ จึงเป็นการสมควรที่จะต้องเลือกใช้สี ให้ถูกต้อง ตามกาลเทศะให้สอดคล้องกับเรื่องราวและอารมณ์ของภาพอย่างถูกต้อง ภาพที่แสดงอารมณ์ตื่นเต้น แจ่มใสสนุกสนาน ควรมี สีอุ่นเป็นพื้นที่ใหญ่ ภาพที่แสดงอารมณ์เศร้าโศก หดหู่ ดุดันก็ควรมีสีเย็นเป็นส่วนประกอบหลัก
            ในขณะที่ถ่ายภาพจุดสนใจที่มีสีแดง สีส้ม และสีเหลืองซึ่งเป็นสีอุ่น เพื่อให้สีตัดกันได้ผลดี โดยมากเลือกใช้สีฟ้า สีน้ำเงิน หรือสีม่วงซึ่งเป็นสีเย็นเป็นฉากหลัง (สีดำเป็นสีที่นิยมใช้กันมากที่สุด) เรียกว่าใช้สีเย็นมารองรับสีอุ่นนั่นเอง และใน ทางกลับกัน เราก็ใช้ฉากหลังสีอุ่นมารองรับจุดสนใจที่มีสีเย็น เพื่อให้ผลในการตัดกันของสีดียิ่งขึ้น หลักการนำสีอุ่นมาตัดกับ สีเย็นในภาพสี ก็เหมือนกับภาพขาวดำที่นำเอาสีอ่อนมาตัดกับสีเข้มนั่นเอง


            สรุปได้ว่าเมื่อต้องการให้สีใดสีหนึ่งมีความเด่นชัด ก็อาศัยสีตรงกันข้ามมาตัด แต่ถ้าต้องการให้สีของภาพมีความกลม กลืนกันก็สามารถใช้สีประเภทเดียวกันมาอยู่ในภาพเดียวกันได้ (มีสีอุ่นทั้งภาพหรือสีเย็นทั้งภาพ) เพียงแต่ต้องเลือกให้มีสี อ่อนและสีเข้มมากกว่ากันเท่านั้น ทั้งนี้ต้องเลือกใช้ให้เหมาะสม คือเหมาะสมทั้งด้านความสวยงามและเหมาะสมทั้งด้าน อารมณ์ของภาพ พูดง่ายๆ ก็คือ จัดสีให้แสดงความรู้สึกตรงกับเรื่องราวของภาพนั่นเอง
                   สีอุ่นและสีอ่อน ให้ความรู้สึกทะเยอทะยาน ก้าวหน้า ร่าเริงแจ่มใส
                   สีเย็นและสีเข้ม ให้ความรู้สึกสุขุม หนักแน่น อึดอัด และหดหู่
                   สีสด สุกใส ทำให้รู้สึกเจริญตาเจริญใจ
                   สีซีด สีหมอง ทำให้รู้สึกท้อถอย ทอดอาลัย
           ฉะนั้นภาพถ่ายทั่วไปมักจัดให้สีสดสวยอยู่ข้างหน้า แล้วจัดให้สีหมองคล้ำอยู่ด้านหลัง จุดสนใจของภาพสีจึงควรเลือก ใช้สีที่สดใสวางอยู่บนฉากหลังที่หมองคล้ำ วิธีนี้นอกจากจะได้ภาพที่ดูสวยงามแล้ว ยังทำให้ภาพเกิดความลึกได้ดีอีกด้วย โดยปกติแล้วภาพถ่ายทั่วไปมีเพียง 2มิติ คือด้านกว้างและด้านยาว หากรู้จักใช้วิธีพลิกแพลงในการใช้ความเข้มความอ่อน ความสดใสกับความหมองของสี และจัดให้สีตัดกันอย่างถูกต้อง จะทำให้ภาพเกิดมีความลึกเป็น 3 มิติได้อีกทางหนึ่ง
            อย่างไรก็ตาม จุดสนใจของภาพส่วนใหญ่จะใช้สีอุ่น (สีแดง สีส้ม สีเหลือง) เป็นตัวนำ โดยมีสีเย็น (สีฟ้า สีน้ำเงิน สีม่วง) รองรับอยู่ในฉากหลัง เรามักจะไม่ได้เห็นภาพที่ใช้สีเย็นอยู่ข้างหน้าบ่อยนัก จุดสนใจของภาพสีจึงมักจะมีสีแดง สีส้ม หรือสีเหลือง โดยมีสีฟ้า สีน้ำเงิน และสีม่วงเป็นฉากหลัง เท่าที่เห็นกันเสมอๆ ก็มีแต่ภาพท้องฟ้ายามรุ่งอรุณ และยามเย็น ใกล้ค่ำเท่านั้น ที่มีฉากหลังเป็นสีอุ่น ส่วนสีเขียวที่นับเป็นสีกลาง เราสามารถนำมาใช้ได้ทั้ง 2 โอกาส คือใช้เป็นสีของจุด สนใจก็ได้ ใช้เป็นสีของฉากหลังก็ได้ แล้วเมื่อภาพส่วนใหญ่มีจุดสนใจเป็นสีอุ่น สีแดงจึงนับเป็นสีที่ให้ความโดดเด่นแก่จุด สนใจได้มากกว่าสีอื่นๆ
             ตามที่ได้กล่าวมาแล้ว ผลของภาพสีขึ้นอยู่กับความกลมกลืนของสี หรือความตัดกันของสี การจัดสีต่างๆ ลงไว้ในภาพ สีก้ไม่ควรจัดให้มีสีสันสับสนมากจนเกินไป เช่น ภาพถ่ายของบุปผาชาติในสวนที่มีดอกมากมายหลายสีปะปนกันไป หรือภาพ ถ่ายคนที่สวมเสื้อผ้าลายจุดลายดอกละลานตา ภาพถ่ายสีลักษณะนี้จะไม่มีค่าแต่ประการใด
            ไม่ว่าจะใช้วิธีจัดสีแบบกลมกลืนหรือแบบตัดกันแรงๆ เราไม่ควรแบ่งอาณาเขตของสีให้มีเนื้อที่เท่าๆ กัน เช่น จัดให้มี สีหมองครึ่งหนึ่ง และสีสดๆ อีกครึ่งหนึ่ง หรือมีสีอุ่นครึ่งหนึ่ง กับสีเย็นอีกครึ่งหนึ่ง คำว่าครึ่งหนึ่งในที่นี้ มิได้หมายถึงเฉพาะ ภาพที่มีสีอุ่นอยู่ทางด้านซ้ายครึ่งหนึ่ง แล้วมีสีเย็นอยู่ทางด้านขวาอีกครึ่งหนึ่งเท่านั้น แต่หมายถึงทั้งสีอุ่นและ สีเย็นปะปนกัน อยู่ในภาพอย่างละครึ่งหนึ่งด้วย เพราะนอกจากจะทำให้ภาพดูทื่อๆไม่น่ามองแล้ว ยังแยกไม่ออกว่าจุดสนใจของภาพที่แท้จริง อยู่ในตำแหน่งของสีไหนกันแน่
            ทางที่ดีควรให้สีของจุดสนใจมีเนื้อที่น้อยกว่า แต่มีสีสดใสกว่า โดยมีสีหมองรองรับในเนื้อที่มากกว่า แต่จะมากกว่าหรือ น้อยกว่าเป็นสัดส่วนเท่าใดนั้น คงต้องไปศึกษาจาก “หลักการจัดองค์ประกอบภาพ” ในเรื่องที่ว่าด้วย “เนื้อที่ของภาพ” เพื่อมิ ให้มีข้อบกพร่องอย่างที่ว่าภาพนี้ “ถ่ายคับ” ภาพนั้น “ถ่ายหลวม” เกิดขึ้น
            อย่างไรก็ตาม เรื่องสำคัญอยู่ที่ว่าเมื่อเป็นภาพสี ภาพนั้นก็ควรมีสี สีที่อิ่มตัว สีที่สดใส สีที่เหมือนของจริงให้มากที่สุด เท่าที่จะทำได้ สีแดงก็ต้องแดงจริง สีเขียวก็ต้องเขียวจริง มิใช่สีซีดๆ ขาวๆ อย่างที่ห้องแล็ปสีส่วนใหญ่มักจะพยายามตามใจ ลูกค้าด้วยการลดความอิ่มตัวของสีลงตั้งแต่ 10 ถึง 20 เปอร์เซ็นต์ จึงเป็นหน้าที่ของนักถ่ายภาพที่จะต้องทำความเข้าใจกับ แล็ปสีด้วยตนเองเมื่อไปใช้บริการ
           ภาพที่ 1 “ตาก” ภาพนี้ดูร้อนแรงด้วยสีอุ่นที่มีอยู่เต็มพื้นที่ แต่ก็ได้เณรน้อยมาช่วยลดความร้อนลงไปได้บ้าง
           ภาพที่ 2 “กวาด” จุดสนใจสีสดวางอยู่บนฉากหลังสีซีด ช่วยให้สีตัดกันดูเด่นดีน่าสนใจ
           ภาพที่ 3 “พาย” ท้องฟ้ายามเย็นที่มีแต่สีอุ่นเช่นนี้ จุดสนใจมักจะเป็นเพียงภาพเงาดำ ไม่สามารถบรรจุเรื่องราว ได้มากนัก
          ภาพที่ 4 “สมาธิ” สีเย็นของท้องฟ้าใกล้ค่ำ ช่วยเสริมสร้างความโดดเด่นของจุดสนใจ ที่มีสีอุ่นให้ดูเด่นสวยงาม ได้ไม่น้อยเลย
          ภาพที่ 5 “ปิ้ง” จุดสนใจมีสีอ่อนเมื่อวางอยู่บนฉากหลังสีเข้ม จะมีมิติที่สวยงามหลุดพ้นจากฉากหลัง
         ภาพที่ 6 “แข่ง” จุดสนใจที่มีสีแดงมักจะดูเด่นสะดุดตาเสมอ ไม่ว่าจะวางอยู่บนฉากหลังสีอุ่นหรือสีเย็น...


ที่มา:  มโนสาเร่ เรื่อง / ภาพ ประสพ มัจฉาชีพ

สั่งอัดรูปออนไลน์ / Digital Offset Print / Photo Gift / Photo Book
ได้ที่
www.masterphotonetwork.com

ติดตามข่าวสารและกิจกรรมดีๆ จากมาสเตอร์ได้ที่ 

Facebook : Master Photo Network

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
"มาสเตอร์" เรามีประสบการณ์ด้านการอัดภาพมายาวนานกว่า 40 ปี โดยเราเป็นรายแรกในประเทศไทยที่ลงเครื่องอัดภาพระบบต่อเนื่อง ซึ่งเป็นจุดกำเนิดของคำว่า "รอรับได้ทันที" ที่ใช้กันแพร่หลายในปัจจุบัน "มาสเตอร์" เป็นรายแรกที่บุกเบิกการอัดภาพระบบดิจิตอลอย่างเป็นระบบและครบวงจร เป็นผู้สร้างมาตรฐานรูปแบบการอัดต่างๆ ในการสั่งอัดรูปดิจิตอล นอกจากนี้ “มาสเตอร์” ยังเป็นผู้สร้างสรรค์งานออกแบบและงานผลิตสิ่งพิมพ์คุณภาพทุกชนิด "มาสเตอร์" เล็งเห็นถึงความสำคัญของการใช้อินเตอร์เน็ตและประโยชน์ที่ลูกค้าได้รับ เว็บไซต์ www.MasterPhotoNetwork.com จึงถูกก่อตั้งขี้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2548 และเปิดให้ลูกค้าสามารถอัพโหลดและสั่งอัดภาพผ่านทางหน้าเวปไซต์ในปี พ.ศ.2551 เป็นต้นมา ปัจจุบันมีลูกค้าใช้บริการผ่านระบบออนไลน์ของเราจากทุกภาคทั่วประเทศ เรามีระบบการจัดส่งที่หลากหลายเพื่อความสะดวกสบายของลูกค้า และด้วยพนักงานที่จะคอยดูแลท่านพร้อมเครื่องอัดภาพที่ทันสมัยที่สุด เราสามารถรองรับงานได้ทุกรูปแบบ ลูกค้าจึงมั่นใจได้ว่างานที่ออกไปจากเราจะมีคุณภาพที่เป็นมาตรฐานและส่งตรงถึงมือลูกค้าอย่างแน่นอน